Page 215 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 215
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ความคุ้นเคยดีอยู่แล้วไปสู่การพัฒนาองค์กรที่เคารพสิทธิมนุษยชน เช่น การคํานึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
ในการประเมินความเสี่ยง รวมไปถึงความสําคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่เคารพสิทธิ
มนุษยชน นอกจากนี้ กสม. ควรที่จะผลักดันการเผยแพร่คู่มือ HRDD ในภาคปฏิบัติ และท้ายที่สุดแล้ว กสม.
ควรที่จะมีส่วนให้คําแนะนําทางเทคนิคว่าด้วยการจัดทํารายงานประจําปีเพื่อสร้างมาตรฐานของการดําเนิน
ธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบซึ่งครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมให้
บริษัทจัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนภายในองค์กรเพื่อดําเนินงานตามนโยบายของบริษัท เช่น การจัดตั้ง
คณะกรรมการสนับสนุนมาตรฐานแรงงาน ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐานจะสะท้อน KPI ของบริษัท
และภาพลักษณ์ของประเทศ
บทบาทที่สอง ได้แก่ การตรวจสอบร้องเรียนและจัดทําฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน ที่ผ่านมา กสม. ได้รับ
เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจเป็นจํานวนมาก ทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศ
ไทย และต่างประเทศ ทั้งนี้ กสม. เองก็ได้ทําการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและจัดทําฐานข้อมูลและประมวลผล
ออกมาเป็นสถิติซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานประจําปี ทิศทางการพัฒนาในอนาคต กสม. ควรที่จะพัฒนาต่อยอด
การจัดทําฐานข้อมูลไปสู่การถอดบทเรียนว่าประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละสาขา และจัดทํา
ข้อเสนอแนะกับภาคเอกชนถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตลอดจนการเฝ้าระวังปัญหาเฉพาะเรื่องที่คาดว่าจะเป็น
ประเด็นที่สําคัญในช่วงของแผนกลยุทธ์ เช่น เกษตรพันธสัญญา การค้ามนุษย์ แย่งชิงฐานทรัพยากร การ
ทําลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมรวมทั้งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐ เอกชนและ
ชุมชน
บทบาทที่สาม คือ การพัฒนากลไกการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทาง กสม. ได้
พัฒนาระเบียบว่าด้วยการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องเพื่อให้นําไปสู่กระบวนการเยียวยาที่เร็วและลด
ความขัดแย้งไม่ให้บานปลาย โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการไกล่เกลี่ยขึ้น การพัฒนากลไกไกล่เกลี่ย
นอกศาลในกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทต่อไป กสม. ควรที่จะมีการสร้างกลไกการคัดกรองเรื่องร้องเรียนว่าเรื่อง
ใดควรที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยนอกศาล และเรื่องใดที่ไม่สมควรต้องเข้าสู่กลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาล
โดยกลไกดังกล่าวควรที่จะต้องเคารพในสิทธิของทั้งสองฝ่ายบนพื้นฐานของความสมัครใจเป็นสําคัญ นอกจากนี้
กสม. ควรที่จะพัฒนาเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลที่มีความเหมาะสม รวมทั้งพัฒนากลไกการ
ประเมินตรวจสอบกลไกการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทนอกศาลอีกชั้นหนึ่ง
บทบาทสุดท้าย ได้แก่ การสร้างเครือข่ายกับภาคธุรกิจ กสม. ได้เริ่มดําเนินการในเชิงบวกเพื่อสร้าง
เครือข่ายภาคธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน และนําไปสู่การพัฒนากลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิทธิ
มนุษยชนที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในช่วงของแผนกลยุทธ์ใหม่นี้ ทาง กสม. ควรที่จะสร้างเครือข่ายหลากหลาย
รูปแบบ ดังนี้ 1) เครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ 2) เครือข่ายเพื่อผลักดันแนวทางปฏิบัติที่ดี (HRDD)
3) เครือข่ายเพื่อพัฒนามาตรฐานการจัดทํารายงานประจําปี และ 4) การร่วมมือกับองค์กร หรือสถาบัน
ตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในสังคมเพื่อสนับสนุนกลไกเกี่ยวกับปัญหาการประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
4-68