Page 205 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 205

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               การประกอบธุรกิจ (หลักการ UNGP และหลักการ UNGC) และการนําเสนอกลยุทธ์แผนงานบทบาทที่ควรจะ

               เป็นของ กสม. ผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน สามารถสรุปความคิดเห็นที่

               เกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมประชุมได้ดังนี้

                       1)  กรณีฟาร์มไก่และกรณีอุตสาหกรรมกุ้งกระทบต่อบริษัทผู้ประกอบการ เพราะมีการตัด

                          ความสัมพันธ์ทางการค้า อาทิ การชะลอการสั่งซื้อเป็นระยะเวลากว่า 30  สัปดาห์เพื่อให้บริษัท

                          ดําเนินการแก้ไข นอกจากนี้ ยังมีกรณีของต่างประเทศที่บริษัทได้รับผลกระทบจากประเด็นสิทธิ
                          มนุษยชนซึ่งผู้บริโภคชาวต่างชาติเป็นผู้ฟ้องว่าธุรกิจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทําให้บริษัทต้อง

                          แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท ผลกระทบ

                          ดังกล่าวทําให้บริษัทต้องหันมาทบทวนตัวเอง และเรียนรู้ว่าจะต้องประกอบธุรกิจอย่างไร ทั้งนี้
                          ธุรกิจได้มีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาโดยได้มีการสร้างระบบที่เรียกว่า Good Labor Practice

                          และมีการออกหนังสือรับรองฟาร์มไก่ในการดําเนินธุรกิจโดยคํานึงถึงสิทธิแรงงาน และทําให้ธุรกิจ

                          ต้นน้ํา ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อีกทั้งยังมี
                          กระบวนการจัดทําช่องทางสื่อสารกับสังคมด้วยการทํา E-newsletter  ทั้งภาคภาษาไทยและ

                          ภาษาอังกฤษ

                       2)  บริษัทบางรายได้ดําเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (HRDD)  แต่การดําเนินการ

                          ดังกล่าวก็ยังมีความเข้มข้นไม่มากนักเพราะประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนยังเป็นเรื่องที่ใหม่

                          ขาดความเชี่ยวชาญ จึงต้องอาศัยการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนในทุกๆ ปี

                       3)  บริษัทที่สมัครเข้าไปเป็นสมาชิกของ UNGC  ไม่ได้ผูกพันให้สมาชิกต้องเขียนรายงานประจําปีใน

                          ประเด็นที่กําหนดทั้ง 4 ประเด็น 10 ข้อเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพิจารณาและรับข้อเสนอแนะจาก
                          สมาชิกของ UNGC รายอื่นๆ และทํางานร่วมกับ NGOs


                       4)  เอกชนบางรายมีทัศนคติว่า NGOs  รู้ในสิทธิของตนแต่ไม่รู้จักหน้าที่ของตน โดย NGOs  มักจะ
                          ร้องเรียนสิทธิต่างๆ ที่ต้องการ ซึ่งการร้องเรียนส่งผลที่ตามมาต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท แม้ว่า

                          บริษัทอาจจะไม่ผิดก็ตาม ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว การจะกู้ชื่อเสียง

                          กลับมาใช้เวลานาน แต่ไม่สามารถหาความรับผิดชอบจาก NGOs ได้ และ

                       5)  โดยทั่วไปแล้ว บริษัทจะดําเนินธุรกิจตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่กําหนดกรอบให้ต้อง

                          ปฏิบัติตามอยู่เสมอ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เช่น หากลูกจ้างมีปัญหาก็จะมีกลไก
                          ภายในรับเรื่องร้องเรียนและจะใช้วิธีการพูดคุยและเจรจาเป็นการภายในเพื่อลดผลร้ายที่อาจจะ

                          ขยายผลไปสู่ภายนอก

                       นอกจากนี้ ผู้แทนจากภาคธุรกิจได้ให้ความเห็นที่เกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. มีประเด็น

               ดังต่อไปนี้




                                                           4-58
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210