Page 201 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 201
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
4) การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่ กสม. ควร
ผลักดันให้ภาคธุรกิจมีมาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ผ่านการส่งเสริมการพัฒนาประเด็นสิทธิ
มนุษยชนควบคู่กับการทํากิจกรรม CSR สนับสนุนการให้รางวัลกับภาคธุรกิจซึ่งอาจจะเริ่มจาก
การสํารวจโดยตั้งต้นจากการพิจารณาการทํา CSR ที่แท้จริงของภาคธุรกิจ สนับสนุนการส่งเสริม
ความรู้ โดยทํางานเชิงบวกที่ทําให้ภาคธุรกิจรู้สึกว่าการดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลบวกต่อ
องค์กร พยายามส่งเสริมภาคธุรกิจที่ให้ความสําคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบ
ธุรกิจ (Human Rights and Business: HRB) ให้ชัดเจนอันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถทําให้เกิด
พันธมิตรกับภาคธุรกิจได้ง่ายขึ้น และ กสม. อาจจะกลับเข้าไปมีบทบาทร่วมกับภาคธุรกิจใน
เครือข่าย UN Global Compact Network Thailand (GCNT) อีกครั้ง ส่วนการสร้างความ
ร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ กสม. ควรที่จะดึงเครือข่ายภาควิชาการให้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมมาก
ขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นภาคส่วนที่เป็นกลางที่สุด แต่ยังไม่ค่อยได้รับข้อมูลข่าวสารหรือเห็นมิติใน
เรื่องเหล่านี้มากนัก รวมทั้ง กสม. ควรเพิ่มบทบาทในการขยายช่องทางการให้ความรู้ การติดต่อ
และการเข้าถึงการเยียวยาทั้งในและนอกระบบเพื่อให้สังคมสามารถเข้าถึง กสม. ได้ง่ายขึ้น ผู้
ได้รับผลกระทบสามารถได้รับการเยียวยาได้อย่างทันที ซึ่งอาจจะเริ่มจากการพัฒนาศูนย์รับเรื่อง
ร้องเรียน เยียวยาแก้ไขปัญหาเบื้องต้นผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
18
4.3.2 กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
การประชุมกลุ่มนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โดยมีผู้เข้าร่วมการ
ประชุมจากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ซึ่งหลังจากการนําเสนอประเด็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ (หลักการ UNGP และหลักการ UNGC) และการนําเสนอกลยุทธ์
แผนงานบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. ผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
สามารถสรุปความคิดเห็นที่เกี่ยวกับประเด็นสภาพแวดล้อมสถานการณ์สําคัญด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ
ผู้เข้าร่วมประชุมได้ดังนี้
1) ภาครัฐมีข้อจํากัดในความรับรู้และความเข้าใจในมุมมองการทํางานของภาคธุรกิจ
2) ปัญหาสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการขัดผลประโยชน์อย่างรุนแรงซึ่งมักจะมาจากภาค
ธุรกิจ จึงควรแก้ไขปัญหาทั้งจากต้นน้ํา กลางน้ําและปลายน้ํา โดยเริ่มจากต้นน้ํา คือ การให้
ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
18
โปรดดูรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม กลุ่มหน่วยงานภาครัฐในภาคผนวก
4-54