Page 204 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 204

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       7)  กสม. ควรจะมีหน่วยงานสาขาฝังตัวอยู่ในพื้นที่เพื่อสัมผัสถึงปัญหาได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งหา

                          มาตรการคุ้มครองผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น


                       8)  การที่ กสม. จะผลักดันให้แผนพัฒนาประเทศต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนและการ
                          ประกอบธุรกิจ ซึ่งจะคาบเกี่ยวกับหลายๆ หน่วยงานและมีหลายมิติประกอบกัน อาจจะไม่

                          เหมาะสมเพราะมีขอบเขตของปัญหาที่กว้างมาก และอาจจะไม่ครอบคลุมได้ อีกทั้ง บางครั้งมี

                          ความขัดแย้งกันระหว่างสิทธิมนุษยชนและประเด็นอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบด้วยเช่นกัน กสม. เองจึง
                          ไม่ควรแต่จะมองประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเพียงด้านเดียว แต่ควรที่จะพิจารณาให้รอบด้าน

                          หลากมิติมากขึ้น และดึงภาคีต่างๆ มาช่วยกันคิดหาทางแก้ไขปัญหา

                       9)  การทําโครงการนําร่องกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กลต. ประกอบกับการเฝ้าระวังปัญหา

                          เฉพาะเรื่อง เช่น เกษตรพันธสัญญา ที่สามารถเป็นต้นแบบของการดําเนินการหลักการสิทธิ

                          มนุษยชนและการประกอบธุรกิจไปใช้ มีขั้นตอนและผลที่ตามอย่างไรเพื่อเป็นต้นแบบให้กับ
                          หน่วยงานอื่นๆ ในอนาคตน่าจะส่งผลที่เป็นรูปธรรมในการสร้างความตระหนักรู้


                       10) บทบาทหน้าที่ของ กสม. ในปัจจุบันคือการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะต่อ
                          รัฐบาล ซึ่งทําให้ กสม. ได้รับข้อมูลจริงจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้ได้รับผลกระทบ และ

                          สามารถรวบรวมเรื่องร้องเรียนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้จากการตรวจสอบมาจัดกลุ่มเพื่อทํา

                          ข้อเสนอแนะในภาพรวม และลําดับความสําคัญในประเด็นของปัญหาเพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบ
                          นําไปดําเนินการต่อไป


                       11) กสม. ควรจะต้องมีบทวิเคราะห์ภายหลังการตรวจสอบให้รอบด้าน พร้อมทั้งระบุเหตุผลของการ
                          เลือกแนวทางข้อเสนอแนะนั้นๆ ไม่ใช่บอกแต่แนวทางแต่อธิบายเหตุผลถึงความสําคัญ และความ

                          คุ้มค่านั้นที่ซ่อนอยู่

                       12) แรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนที่ภาคเอกชนในปัจจุบันต้องเผชิญนั้นเกิดจากภาคเอกชนบางรายเอง

                          ที่ได้รับผลกระทบมาก่อน ในขณะที่การดําเนินการของ กสม. ผ่านการจัดทําเครื่องมือหรือคู่มือ

                          ต่างๆ เป็นการขยายผลมาจากปัญหา แต่ภาคเอกชนบางรายอาจจะยังไม่ทราบถึงปัญหานั้นๆ
                          ดังนั้น กสม. จึงควรเผยแพร่ให้ภาคเอกชนทราบและตระหนักถึงปัญหา ตลอดจนผลกระทบของ

                          การประกอบธุรกิจที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนโดยอาศัยตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง

                                                                            19
                       4.3.3 กลุ่มองค์กรที่เกี่ยวกับด้านธุรกิจ เศรษฐกิจและการลงทุน

                       การประชุมกลุ่มนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08.30 – 12.30 น. โดยมีผู้เข้าร่วมการ
               ประชุมจากภาคธุรกิจต่างๆ ภายหลังจากการนําเสนอประเด็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและ



               19
                    โปรดดูรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม กลุ่มองค์กรที่เกี่ยวกับด้านธุรกิจ เศรษฐกิจและการลงทุนในภาคผนวก


                                                           4-57
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209