Page 208 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 208
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
CSR และ Code of Conduct อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงผู้มีส่วนได้เสียของธุรกิจ ว่าธุรกิจ
จะต้องไปเกี่ยวโยงกับผู้มีส่วนเสียอย่างไรบ้างอยู่แล้ว แต่ปัญหามักจะเกิดจากภาคธุรกิจขนาด
กลางและขนาดเล็กที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาที่มีต้นทุนในการดําเนินการในเรื่องดังกล่าว
ค่อนข้างมากจึงทําให้มีส่วนในการคุ้มครองผู้บริโภคค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าภาค
ธุรกิจขนาดเล็กยังไม่เท่าทันต่อยุคสมัย (เช่น การค้าขายในสังคมออนไลน์) จึงเกิดข้อร้องเรียน
เกี่ยวกับการซื้อของออนไลน์ค่อนข้างมากในปัจจุบัน
2) การให้ความสําคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ในการดําเนินงานของภาค
ธุรกิจในปัจจุบันถือว่า ภาคเอกชนทั้งองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็กให้ความสําคัญผ่านการออก
กฎระเบียบ แนวทางการดําเนินงานอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดข้อร้องเรียนไปสู่ภาคประชาสังคมหรือผู้รับ
ร้องเรียนต่างๆ กลับพบว่าการดําเนินงานของภาคธุรกิจไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่ได้มีการกําหนด
เอาไว้ (เช่น ในหลักการมีการกําหนดแนวทางการเยียวยา แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการดําเนินงานที่
ช้ามาก หรือบางกรณีไม่มีการดําเนินการเลย โดยภาคธุรกิจจะปล่อยให้ผู้ที่เดือดร้อนหรือผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบได้ดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายเอง)
3) ประเด็นสิทธิของผู้พิการในการเข้าทํางานในสถานประกอบการต่างๆ มีความเห็นว่าในปัจจุบัน
จริงๆ แล้วภาคธุรกิจเอกชนได้ให้ความสําคัญในการรับผู้พิการอยู่แล้ว เห็นได้จากการพยายาม
จัดหางานให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้พิการ แต่สิ่งที่ทําให้เกิดปัญหาขึ้นในปัจจุบัน คือ การ
ออกกฎหมายของภาครัฐ และการที่ยังขาดการฝึกความชํานาญในงานต่างๆ ให้กับผู้พิการที่ทําให้
การรับคนพิการมาทํางานไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
4) สภาพแวดล้อมของภาคสื่อสารมวลชนในการตรวจสอบ รายงานประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
จากการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน พบว่า สื่อเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับแรงกัดดันหรือถูกลิดรอน
สิทธิในการทํางานจากที่การรายงานประเด็นสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจนี้ย่อมจะ
เกี่ยวข้องกับเรื่องการขัดแย้งในผลประโยชน์ของภาครัฐหรือภาคธุรกิจที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
การดําเนินงาน จึงทําให้การนําเสนอข่าวในประเด็นดังกล่าวทําได้ยากมาก
ในส่วนของบทบาทที่เป็นอยู่ของ กสม. (บทบาทที่ผ่านมาของ กสม. ) พบว่ามีประเด็นที่ได้จากการรับ
ฟังความคิดเห็นดังต่อไปนี้
1) ความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการดําเนินงานของ กสม. ที่ภาคประชาสังคมรับรู้ในอดีต พบว่า สัดส่วน
การศึกษาวิจัยหรือการดําเนินติดตามเรื่องร้องทุกข์ของ กสม. ในอดีตจะเกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิ
ผู้บริโภคน้อยเมื่อเทียบกับการตรวจสอบในเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิแรงงาน
2) ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กร บุคลากรภายใน กสม. ยังไม่ค่อยเหมาะสมทั้งใน
เชิงปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ การเข้าไปร้องเรียนในปัญหาต่างๆ ของภาคประชาสังคมใน
4-61