Page 200 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 200

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                          จัดพิมพ์หนังสือว่าด้วยเรื่องสิทธิแรงงานและการเจรจา รวมไปถึงการมีเครือข่ายด้านสิทธิ

                          มนุษยชนร่วมกับภาคประชาสังคมที่ชัดเจน และ


                       3)  รูปแบบการให้ความรู้ในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ กสม. ที่ผ่านมาจะเป็นลักษณะการ
                          ให้ความรู้กับบุคลากรภายในองค์กรก่อน แล้วจึงค่อยขยายขอบเขตไปสู่หน่วยงานภาครัฐ และ

                          ภาคธุรกิจต่างๆ ต่อไป เช่น การดําเนินการจัดประชุมให้ความรู้ผ่านโครงการ pilot project การ

                          อบรมให้ความรู้เรื่องหลักการ UNGP ให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม

                       นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้สอบถาม กสม. เกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. พบว่ามีประเด็นที่ได้

               จากการรับฟังความคิดเห็นดังต่อไปนี้

                       1)  ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยได้ออกความคิดเห็นถึงแนวทางการกําหนดยุทธศาสตร์ของ กสม. ว่า

                          ควรดําเนินการตามกรอบที่สอดคล้องกับแผนงานหรือมาตรฐานต่างๆ เช่น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ
                          วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่เกี่ยวกับรายงานการตรวจสอบเรื่องการลงทุนที่ทวาย หลักการ

                          Guiding Principles on Business and Human rights: Implementing the United

                          Nations. 'Protect, Respect and Remedy' Framework  และปฏิญญาเอดินเบอระ
                          (Edinburgh Declaration) สร้างความตระหนักเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติของฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่าย

                          บริหาร รวมไปถึง กสม. อาจจะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการเสนอ ให้คําปรึกษาและผลักดัน

                          ให้เกิดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการแห่งชาติ (แผน NAP)  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการคุ้มครองสิทธิ
                          มนุษยชน สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม อันที่จะเป็นตัวสร้างบทบาทนําในภูมิภาคที่ส่งเสริมให้ภาค

                          ธุรกิจรวมไปถึงรัฐวิสาหกิจเกิดการยอมรับและคุ้มครองในประเด็นสิทธิมนุษยชน

                       2)  แผนงานของ กสม. ที่ควรจะมีบทบาทเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เสนอมาข้างต้น (การปลูกฝัง

                          คุ้มครองและเยียวยา และการพัฒนาองค์กร) คือ กสม. ควรเพิ่มบทบาทในการตรวจสอบ

                          (auditor)  เป็นผู้ติดตาม (monitor)  ในประเด็นสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจต่างๆ เช่น
                          การละเมิดสิทธิในกิจการเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า โดยอาจจะทํางานร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น

                          ภาคประชาสังคม นอกจากนั้น กสม. ควรส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในหลักการสิทธิ

                          มนุษยชน (UNGC, UNGP) และควรกําหนดนิยาม ขอบเขตการทํางานของตนให้ชัดเจนเหมาะสม
                          เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การกําหนดอํานาจในการตรวจสอบในกรณีการละเมิดสิทธิ

                          ของนักธุรกิจไทยที่ไปทําธุรกิจที่ต่างประเทศ

                       3)  แผนงานของ กสม. ในอนาคต ควรที่จะมีการศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงในประเด็นการ

                          ดําเนินงานของ กสม. ทั้งในเรื่องการศึกษาวิจัยและการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา โดย

                          อาจจะสร้างเป็นฐานข้อมูล (database)  เรื่องข้อพิพาท ข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้ง
                          ในเชิงนโยบายและเชิงกฎหมาย และ





                                                           4-53
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205