Page 203 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 203
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
1) นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาด้านสังคม เช่น การผลักดันกลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาลช่วยประหยัด
ค่าใช้จ่ายและเวลา ซึ่งกลไกเหล่านี้เป็นประโยชน์ แต่ก็ยังมีข้อจํากัดในการทํางาน ไม่ว่าจะเป็น
จํานวนบุคลากรหรือความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องหาหนทางปรับปรุงกลไกที่มี
อยู่ให้สามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ
2) บริษัทเอกชนหลายๆ บริษัทที่ทํา CSR อยู่แล้ว สามารถที่จะผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนและ
การประกอบธุรกิจผ่านหลักการ UNGC เข้าไปในการประกอบกิจการของตนเพื่อเสริมช่องว่างได้
3) ประเทศสิงคโปร์ตั้ง ASEAN CSR Network ขึ้น ซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิ
มนุษยชนและการประกอบธุรกิจ โดยประเทศไทยสามารถนํารูปแบบบางประการของเครือข่าย
ดังกล่าวมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย
4) การตระหนักรู้ในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจยังคงเป็นสิ่งที่จะต้องทํา โดย กสม.
ควรจะยกตัวอย่างและกิจกรรมที่ชัดเจน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง กสม. กับภาครัฐ
หรือภาคเอกชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชน
5) ที่ผ่านมา กสม. มักจะเชิญหน่วยงานภาครัฐมาให้ข้อมูลซึ่งเป็นประเด็นพิพาท และการให้ข้อมูล
นั้นจะต้องเผชิญหน้ากับคู่กรณี นอกจากนี้ กสม. ไม่ได้สร้างบรรยากาศและภาษาที่เป็นมิตรต่อ
การให้ข้อมูลของภาครัฐ และทําให้รู้สึกเหมือนเป็นจําเลยที่จะต้องถูกซักถามในทุกๆ เรื่อง ทั้งๆ ที่
ภาครัฐก็เชื่อว่าตนเองทําหน้าที่โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้ให้อํานาจไว้ ทําให้บางหน่วยงานของ
รัฐเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการส่งหนังสือชี้แจงแทนตัวบุคคล ดังนั้น กสม. ควรจะทําการศึกษาว่า
ประเด็นอะไรบ้างที่ชุมชนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เป็นประจํา และศึกษาว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้น
คุ้มครองดีพอแล้วหรือไม่ ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เพื่อจะได้จัดทําข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุงกฎหมายต่อไป หรือส่งเสริมให้หน่วยงานที่มีอํานาจเข้ามาหารือถึงแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว และจะให้ กสม. เข้าไปสนับสนุนได้อย่างไรบ้าง
6) กฎหมายใหม่มักจะตราขึ้นมาโดยขาดข้อมูลมาสนับสนุน หรือบางเรื่องที่ศึกษากันมานานมากแต่
ไม่สามารถผลักดันออกมาเป็นกฎหมายได้ อีกทั้ง ในการตรากฎหมายนั้นจะเกี่ยวข้องกับการจํากัด
สิทธิมนุษยชนในตัว ดังนั้น ก่อนที่จะมีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ เพื่อไม่ให้สิทธิมนุษยชนถูก
ลิดรอนจึงควรที่จะต้องศึกษาถึงความจําเป็นในการตรากฎหมายนั้นๆ เสียก่อน โดยพิจารณาจาก
มิติทางเศรษฐศาสตร์ ความคุ้มค่าของการมีอยู่ของกฎหมายฉบับนั้น การจะมีกฎหมายใหม่นั้น
หากไม่คุ้มค่า และยังไม่จําเป็น ก็ควรจะใช้กติกา หรือกลไกอื่นๆ ในประเทศที่มีอยู่ไปก่อน สร้าง
ความรู้ความเข้าใจไปก่อน ยังมีมาตรการบังคับทางอื่นนอกเหนือมาตรการทางกฎหมายที่มี
ประสิทธิภาพและใช้ได้ผลไม่แพ้กัน
4-56