Page 207 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 207

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                          ผลกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศจากการสั่งซื้อของต่างประเทศ นอกจากนี้ กลุ่ม Start-up

                          หรือ SMEs  บางส่วนยังไม่รู้ว่าจะถูกกีดกันทางการค้าอย่างไรบ้างจากการไม่เคารพสิทธิมนุษยชน

                          กสม. จึงจําเป็นที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีทรัพยากรไม่เท่ากับบริษัท
                          มหาชน


                       10) กสม. ควรจะส่งเสริมให้มีคลังข้อมูลที่รวบรวมหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีทั้งข้อมูลเชิงนโยบาย

                          กรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ การดําเนินการตามนโยบาย การสื่อสารกับสาธารณะ การบริหาร
                          ความสัมพันธ์ภายในห่วงโซ่อุปทานการผลิต การจําแนกและประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจและ

                          สิทธิมนุษยชน การจัดทํา auditing system และการออกรายงานประจําปี นอกจากนี้ กสม. ควร

                          ที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนจัดทํา KPI ของตนเองขึ้น

                       11) กสม. ควรส่งเสริมให้บริษัทจัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนภายในองค์กรเพื่อดําเนินงานตามนโยบาย

                          ของบริษัท เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรฐานแรงงาน ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจที่ได้
                          มาตรฐานจะสะท้อน KPI ของบริษัท และภาพลักษณ์ของประเทศ และ


                       12) กสม. จะต้องบูรณาการประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจจากทุกภาคส่วน โดยจําแนก
                          ประเด็นหลักที่มีร่วมกัน แก้ไขปัญหาการทุจริตในระบบและโครงสร้างผ่านกลไกการตรวจสอบ

                          ตลอดจนการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล


                                               20
                       4.3.4 กลุ่มภาคประชาสังคม
                       การประชุมระดมความคิดเห็นกลุ่มภาคประชาสังคมนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 08.30

               – 12.30 น. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ เครือข่าย

               แรงงาน ภาควิชาการ สื่อสารมวลชน

                       หลังจากการนําเสนอประเด็นกรณีศึกษาการดําเนินงานของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิ

               มนุษยชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจ (หลักการ UNGP  และหลักการ UNGC)  ตลอดจนการนําเสนอแผนกลยุทธ์บทบาทที่ควรจะ
               เป็นของ กสม. ผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน คณะผู้วิจัยสามารถสรุปความ

               คิดเห็นที่เกี่ยวกับประเด็นสภาพแวดล้อมสถานการณ์สําคัญด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมประชุมได้
               ดังนี้


                       1)  ภาคประชาสังคม และสื่อมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสภาพแวดล้อมปัญหาการละเมิดสิทธิ

                          มนุษยชนในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจาก
                          บริษัทต่างๆ เหล่านี้มีแผนการดําเนินงานที่มีมาตรฐาน เช่น แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคม


               20
                    โปรดดูรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม กลุ่มภาคประชาสังคมในภาคผนวก


                                                           4-60
   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212