Page 202 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 202
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
3) ภาคธุรกิจให้ความสนใจและยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐในประเด็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิ
มนุษยชนเฉพาะเรื่อง เช่น กรณีค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง เพราะเกรงว่าประเทศจะถูก
สถานะให้อยู่ Tier3 อีกครั้ง แต่ในกรณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นแรงงานเด็ก โสเภณี ยาเสพติด
เหล่านี้กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเด็นประมง
4) เกษตรพันธสัญญาดําเนินมาหลายทศวรรษแล้ว และพบว่าอํานาจต่อรองทางสัญญาของคู่สัญญา
ระหว่างเกษตรกรกับคู้ค่านั้นมีไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับเกษตรพันธสัญญาเพื่อเข้า
มาดูแลคุ้มครองเกษตรกรมากขึ้น
5) สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ในมิติด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับอัตราการจ้างงานจะต่ําลงเพราะหัน
มาพึ่งพาเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์และอาจจะกระทบสิทธิแรงงานนั้น น่าจะกระทบใน
ภาคอุตสาหกรรม แต่ในส่วนของภาคการเกษตรนั้น ในประเทศก็ยังคงมีแรงงานเป็นจํานวนราวๆ
16 ล้านคน ที่ยังคงใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักรร้อยละ 50 อยู่ จึงน่าจะส่งผลกระทบต่อภาค
เกษตรไม่มากนัก
6) การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ (แผน NAP) มีการลงพื้นที่เพื่อ
เก็บข้อมูลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค (national baseline study) โดยข้อมูลที่ได้
จากการแลกเปลี่ยนคือ การละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจากการลงทุนทั้ง
ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน สิทธิในที่ดินทํากิน การแย่งชิงฐานทรัพยากรน้ํา การสร้าง
มลพิษ ผลกระทบจากสุขภาพ การปราศจากการเยียวยาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ แผน NAP
จะได้จัดทําภายหลังการดําเนินการ NBA ซึ่งมีกําหนดที่จะยกร่างแผน NAP ในปี 2018
7) การจัดการปัญหาพิพาทที่เรื้อรัง ภาครัฐอยากจะให้ศาลควรจะเข้ามาระงับข้อพิพาทอย่างรวดเร็ว
แต่ก็มีบางกลุ่มที่ขัดขวางไม่ให้เข้าถึงกระบวนการดังกล่าวเพราะมีวาระซ่อนแร้นอยู่เสมอของ
คู่กรณี
8) การกีดกันทางการค้าก็เป็นอีกประเด็นที่ภาครัฐควรจะต้องให้ความสําคัญ หากยังมีการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน
9) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ไม่ได้ใช้คําว่า สิทธิมนุษยชนในแผน เพราะมีความหมายที่กว้าง แต่ใน
แผนดังกล่าวก็ได้มีการเลือกประเด็นที่คาดว่าจะเป็นคานงัด ได้แก่ สิทธิชุมชน อย่างไรก็ตาม สิทธิ
อื่นๆ ก็ถูกสอดแทรกในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ผู้แทนจากภาครัฐได้ให้ความเห็นที่เกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. โดยคณะผู้วิจัย
พบว่ามีประเด็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นดังต่อไปนี้
4-55