Page 206 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 206

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       1)  การที่ภาคประชาสังคมทํางานของตนได้เป็นอย่างดี ก็เพราะภาครัฐและภาคธุรกิจยังคงอ่อนแอ

                          อย่างไรก็ดี การตรวจสอบอาจจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลไม่รอบด้าน จึงควรที่จะต้องมีกลไก

                          บางประการมากํากับการดําเนินการของภาคประชาสังคม และยังคงเปิดกว้างการทํางานร่วมกัน
                          กับภาคประชาสังคมต่อไป ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังคงเต็มใจเปิดรับกับภาคประชาสังคมต่อไป

                          นอกจากนี้ การปรึกษาหารือเพื่อยกระดับมาตรฐานสากล การผนึกกําลัง (synergy)  ของทุกภาค

                          ส่วนยังคงมีความจําเป็น รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ด้วย

                       2)  การให้รางวัลกับภาคธุรกิจหากเป็นการพิจารณาโดยรอบคอบ 360  องศา ก็ย่อมจะเป็นผลดีต่อ

                          บริษัทที่ได้รับรางวัล แต่หากไม่เป็นอย่างนั้น ก็จะส่งผลร้ายให้กับบริษัทเพราะจะถูก

                          วิพากษ์วิจารณ์มากกว่าจะได้รับคําชมเชย ซึ่งก็อาจจะไปกระทบต่อภาพลักษณ์และความ
                          น่าเชื่อถือของบริษัทนั้นๆ


                       3)  การจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยนอกศาลมีผลดีตรงที่ใช้เวลาน้อยกว่า ส่งผลดีต่อบริษัทและคู่
                          ขัดแย้ง


                       4)  โรงงานอุตสาหรรมขนาดใหญ่มักจะประสบปัญหาในเรื่องของการอนุมัติหรืออนุญาตซึ่งจะต้อง
                          ผ่านหน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นและจังหวัด และบางครั้งชุมชนไม่ได้ไปรับรู้ด้วยนําไปสู่การ

                          ร้องเรียนหรือการตรวจสอบ ซึ่ง กสม. ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความ

                          เข้าใจให้กับชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

                       5)  กสม. ไม่ได้เป็นองค์กรแรกที่ภาคธุรกิจนึกถึงเวลาที่มีปัญหาด้านการประกอบธุรกิจและสิทธิ

                          มนุษยชน ทั้งนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก หรือไม่ทราบถึงอํานาจและภารกิจของ กสม. ดังนั้น
                          กสม. จึงจําเป็นที่จะต้อง rebrand ตนเองขึ้นมาใหม่ให้ภาคสาธารณะและภาคธุรกิจได้รู้จัก


                       6)  กสม. ไม่ควรที่จะจัดทําแค่ข้อเสนอแนะให้กับภาครัฐ แต่ควรจะมี collective  action  เพื่อจะได้
                          แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง


                       7)  กสม. ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนและ
                          การใช้แรงงาน


                       8)  กลไกการร้องเรียนและตรวจสอบควรจะให้ความสําคัญและดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ใน
                          การบูรณาการแก้ไขปัญหามักจะมี 2  มิติ คือ ความจริงที่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือ และความ

                          จริงที่ทุกๆ ฝ่ายสบายใจ ซึ่งการประชุมร่วมกันส่วนใหญ่มักแต่จะหยิบยกเรื่องที่สบายใจมาหารือ

                          ทําให้ปัญหามันยังมีอยู่ และไม่ได้รับการแก้ไข

                       9)  โครงการนําร่อง UNGP ควรจะจําแนกว่าธุรกิจสาขาใดที่มีผลกระทบจริงๆ และเสนอให้ กสม. ให้

                          ความสําคัญ โดยส่วนตัวมองว่า กสม. ควรจะพิจารณาภาคการส่งออกเป็นหลักก่อนเพราะมี





                                                           4-59
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211