Page 209 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 209

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                          อดีตไม่ค่อยได้รับการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากเห็นว่า กสม. ยังมีปัญหาในเรื่อง

                          ของความเชี่ยวชาญของบุคลากรเฉพาะเรื่องที่ยังไม่รู้วิธีการดําเนินงานที่ถูกต้อง รวมทั้งมองว่า

                          สัดส่วนของเรื่องร้องเรียนกับบุคลากรยังไม่สมดุลกัน

                       3)  ประสบการณ์การเข้าไปร้องทุกข์ในอดีตของภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิต่างๆ เช่น

                          สิทธิแรงงาน  พบว่า การร้องทุกข์ไม่ค่อยได้รับการตอบสนองหรือแจ้งความคืบหน้าของการ

                          ดําเนินการตรวจสอบมากนัก บางกรณีมีระยะเวลาในการตอบกลับเรื่องราวร้องทุกข์ค่อนข้างนาน
                          (เช่น ใกล้ครบวาระ 4 ปีของกรรมการ กสม. ถึงได้รายงานตอบกลับ) จนปัญหาอาจจะเลยหรือ

                          ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไปแล้ว ตลอดจนการดําเนินการตรวจสอบ การรับเรื่องร้องทุกข์

                          การลงพื้นที่ประสบเหตุของ กสม. จะดําเนินการติดต่อไปคนละกลุ่มกับผู้ร้อง ทําให้การดําเนินการ
                          ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร


                       และในลําดับสุดท้าย เพื่อที่จะทําให้การศึกษาวิจัยได้ทราบถึงแผนกลยุทธ์เป้าหมายที่ภาคส่วนต่างๆ
               อยากให้ กสม. ดําเนินการในอนาคต คณะผู้วิจัยจึงได้สอบถามผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็น

               ของ กสม. พบว่ามีประเด็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นดังต่อไปนี้

                       1)  ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยได้แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการดําเนินกลยุทธ์ของ กสม. ว่าควร

                          ดําเนินกลยุทธ์ แผนงานการตรวจสอบปัญหาข้อร้องเรียนในประเด็นสิทธิต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น

                          ประเด็นสิทธิผู้บริโภค โดยอาจจะใช้หลักการมาตรฐานสากลต่างๆ เป็นตัวตั้งในการตรวจสอบ
                          (เช่น ยึดเอาหลักสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย 5 ประการ และหลักสิทธิ

                          ผู้บริโภคสากล 8 ประการเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตรวจสอบปัญหาข้อร้องเรียน)

                       2)  ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กร ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความเห็นว่า กสม. ควร

                          จะมีแนวทางการกําหนดมาตรฐานของบุคลากรที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการ กสม. ให้เป็น

                          บุคลากรที่มีความรู้ครอบคลุมถึงปัญหาต่างๆ ทุกเรื่อง เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบ
                          ข้อร้องเรียนและครอบคลุมการปกป้องสิทธิต่างๆ ในทุกๆ ชนชั้นอาชีพ นอกจากนี้อยากที่จะให้

                          กสม. ปรับเปลี่ยนวิธีการร้องทุกข์ให้ชาวบ้าน หรือที่ปรึกษาในการร้องทุกข์สามารถเข้าไปร้องทุกข์

                          และมีการตรวจสอบข้อร้องทุกข์ย้อนหลังได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย

                       3)  กสม. ควรกําหนดคําจํากัดความของสิทธิมนุษยชนที่องค์กรให้ความสําคัญในการตรวจสอบให้

                          ชัดเจนว่าอยู่ในขอบเขตไหนบ้าง โดยมีข้อสังเกตว่าบทบาทของ กสม. ควรจะมีความชัดเจน ไม่ใช่
                          ดําเนินการไปทั่วในขณะที่มีองค์กรประจําทําหน้าที่อยู่แล้ว เพราะการทํางานเหลื่อมกันไม่น่าจะ

                          เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

                       4)  ทางออกที่ดีที่สุดของ กสม. ในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงความสําคัญของหลักสิทธิ

                          มนุษยชน คือ การทํางานร่วมกับภาคธุรกิจ โดย กสม. ควรกําหนดออกมาเลยว่าภาคธุรกิจกลุ่ม




                                                           4-62
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214