Page 199 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 199

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       หลังจากการนําเสนอประเด็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ

               (หลักการ UNGP  และหลักการ UNGC)  และการนําเสนอบทบาทที่เป็นอยู่ กลยุทธ์แผนงานบทบาทที่ควรจะ

               เป็นของ กสม. ผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน สามารถสรุปความคิดเห็นที่
               เกี่ยวกับประเด็นสภาพแวดล้อมสถานการณ์สําคัญด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมประชุมได้ดังนี้


                       1)  กสม. ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ยากลําบากในการดําเนินการ คือ ภาคประชาชนยังไม่เห็น

                          ภาพของบทบาทและการดําเนินงานของ กสม. ที่ชัดเจน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทําให้เกิดการ
                          เคลื่อนย้ายแรงงานนอกพื้นที่เข้ามาแย่งชิงฐานทรัพยากรภายในชุมชนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ

                          สิทธิดั้งเดิมต่างๆ ของคนท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รู้ว่ามี กสม. ให้การช่วยเหลือรวมถึงไม่รู้

                          ช่องทางการร้องเรียนและการเข้าสู่การเยียวยา และภาครัฐยังไม่ค่อยให้ความสําคัญในเรื่องสิทธิ
                          มนุษยชนอย่างเต็มที่มากนัก จึงอาจจะเกิดอุปสรรคข้อขัดแย้งด้านภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ

                          มนุษยชนระหว่างองค์กรได้

                       2)  สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ พบว่า การดําเนินงานของ กสม. เพื่อตรวจสอบการ

                          ดําเนินธุรกิจของภาคธุรกิจในอดีตหลายๆ เรื่อง แสดงให้เห็นถึงการดําเนินงานของภาคธุรกิจใน

                          ลักษณะการละเมิดสิทธิต่างๆ โดยภาคธุรกิจอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันก็ยังเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ
                          ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ (ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ําซากของภาคเอกชน) รวมทั้งการดําเนินงาน

                          ของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํารายงานประจําปียังมีสิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาเพื่อสะท้อน

                          การเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ คือ การจัดทํารายงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนยังไม่ค่อย
                          โดดเด่นเท่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชน


                       ในส่วนของบทบาทที่เป็นอยู่ของ กสม. (บทบาทที่ผ่านมาของ กสม. ) พบว่ามีประเด็นที่ได้จากการรับ
               ฟังความคิดเห็นดังต่อไปนี้


                       1)  ภาพรวมการดําเนินงานในอดีตของ กสม. ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมักจะเป็นการ
                          ดําเนินงานในลักษณะการผลักดันแบบเป็นระยะๆ ไม่มีความต่อเนื่องของกิจกรรม และมีบาง

                          กิจกรรมที่ กสม. อาจจะมีการดําเนินการอยู่จริง แต่กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการ

                          ดําเนินงานด้านการประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ (เป็นผลพลอยได้จากการดําเนิน
                          กิจกรรมอื่น)


                       2)  รูปแบบการดําเนินงานในปัจจุบันของ กสม. ส่วนมากเป็นการทํางานในลักษณะตั้งรับที่จะเน้นการ
                          ทํารายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง การรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และการให้

                          ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือทํากฎหมายใหม่เพื่อ

                          ตอบสนองการป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ นอกจากนั้น กสม. ยังมีการ
                          ดําเนินศึกษาวิจัยร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาในประเด็นสิทธิมนุษยชน อาทิ การ





                                                           4-52
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204