Page 163 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 163

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ด้านให้สัมฤทธิ์ผล ประกอบไปด้วย (7)    ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

               (8)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม (9)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง

               และพื้นที่เศรษฐกิจ และ (10) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

                       ใน 10 ยุทธศาสตร์ข้างต้น จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ดังนี้


                       3.1  ในยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มีการระบุถึงการสนับสนุนสื่อ เพื่อ
               ช่วยส่งเสริมการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันดี รวมทั้งส่งเสริมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ใน

               การสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี

                       3.2  ในยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม มีการระบุถึง การ

               สนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิในการจัดการทุน ที่ดินและทรัพยากรในชุมชน

                       3.3  ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีการระบุถึงการ

               สนับสนุนการทําเกษตรพันธสัญญาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีความเป็นธรรม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสิทธิ

               ของเกษตรกรในฐานะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบภาคเกษตรป้อนให้กับธุรกิจเอกชน

                       3.4  ในยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการระบุให้มีการ

               ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนและชุมชนเพื่อสร้างพลังร่วม ในการดําเนินงานร่วมกับภาครัฐ โดยส่งเสริมให้
               ภาคเอกชนที่มีธรรมาภิบาลในการบริหารงานเข้ามาร่วมดําเนินงานกับภาครัฐและชุมชน สนับสนุนการจัดตั้ง

               กลไกและกองทุนเพื่อการฟื้นฟู เยียวยา และชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งการเยียวยาในระยะสั้น และ

               ระยะยาว ร่วมกับการศึกษาและกําหนดใช้มาตรการทางด้านการคลังที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตาม
               หลักการของผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถเรียกเก็บค่าเสียหายจาก

               ผู้ประกอบการ เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาวได้ พัฒนากระบวนการยุติธรรมด้าน

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ครอบคลุมตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
               การพิสูจน์ความเสียหาย รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการ

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม     อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนากลไกที่มี

               ประสิทธิภาพเพื่อการจัดการความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการโดยคํานึงถึงสิทธิชุมชนและความเป็น
               ธรรมทางสังคม ซึ่งครอบคลุมในประเด็นเช่น สัมปทานเหมืองแร่ การจัดสรรที่ดิน การจัดสรรทรัพยากรน้ํา การ

               จัดการมลพิษ เป็นต้น

                       3.5  ในยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน มี

               การระบุถึงการสนับสนุนการดําเนินการเชิงรุก โดยใช้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับภัย

               คุกคามด้านความมั่นคงของประเทศ โดยครอบคลุมถึงประเด็นการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยกําลังเป็นหนึ่งใน
               ประเทศที่ประสบปัญหาอยู่







                                                           4-16
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168