Page 167 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 167
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
The Earth Summit ในปี ค.ศ. 1992 ที่นครริโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล) นับเป็นจุดเปลี่ยนจาก
การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นการคํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกไปพร้อมกันด้วย สหประชาชาติ
ได้จัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable
Development หรือ Rio+20) ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงริโอเดจาเนโร สหพันธ์
สาธารณรัฐบราซิล โดยเป็นความพยายามครั้งสําคัญที่ผู้นําและผู้แทนระดับสูงจากประเทศต่างๆ 191 ประเทศ
ได้หารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการดําเนินการไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและพิจารณาอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดย
หวังที่จะปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาให้เป็นไปอย่างยั่งยืน มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม
ผู้นําประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุม Rio+20 ได้รับรองเอกสารผลการประชุมดังกล่าวภายใต้ชื่อ
The Future We Want โดยย้ําเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะดําเนินการให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน และ
พิจารณาประเด็นที่เป็นอุปสรรคหรือความท้าทายใหม่ต่อการดําเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งประเด็น
ต่างๆ ที่ควรจะได้รับการรวบรวมไว้ในกรอบแนวคิดในการพัฒนาภายหลัง ค.ศ. 2015 (post-2015 UN
development agenda) ตลอดจนได้กําหนดกระบวนการจัดทําเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable
development goals: SDGs) เพื่อผลักดันวาระการพัฒนาของสหประชาชาติภายหลังจากที่ MDGs กําลังจะ
สิ้นสุดลง
ในปี ค.ศ. 2515 สหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Goals หรือ SDGs) โดยเปลี่ยนจากกรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบ 3 เสาหลัก (pillars) มาสู่กรอบคิด
ใหม่ที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (dimensions) เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อลด
ข้อจํากัดของการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากกรอบความคิดแบบเสาหลัก
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ 169 ข้อย่อยถูกเสนอขึ้นโดยคณะทํางานของสหประชาชาติว่าด้วย
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Open Working Group on SDGs) โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 17 หัว
เรื่อง ซึ่งเริ่มต้นใช้ในต้นปี พ.ศ. 2559 จนถึงปี พ.ศ. 2573 เป็นระยะเวลา 15 ปี เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
9
อาจสรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
9
United Nations. “Sustainable Development Topics.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
https://sustainabledevelopment.un.org/topics
มูลนิธิมั่นพัฒนา. “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.tsdf.or.th/th/seminar- event/10268/เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
4-20