Page 160 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 160
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ละแวกใกล้เคียง หรือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาจจะนําไปสู่การทําลายระบบนิเวศที่สําคัญ เช่น ป่า
ชายเลน แนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล เป็นต้น
1.2 มิติทางด้านสังคม
1.2.1 การเข้าสู่สังคมสูงวัย หมายถึง การที่สังคมจะมีจํานวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้น
จากพัฒนาการทางการแพทย์ที่ทําให้ผู้สูงอายุมีอายุขัยที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่จํานวนเด็กเกิดใหม่จะมี
จํานวนที่ลดลง ซึ่งส่งผลทําให้องค์ประกอบของแรงงานมีอายุขัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ผลกระทบของการเข้าสู่สังคมสูงวัยจะเกิดขึ้นในหลายนัยยะต่อประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยใน
นัยยะที่หนึ่ง จะทําให้เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีกําลังวังชา (ในบางสาขา เช่น
ภาคก่อสร้าง) และแรงงานที่มีทักษะ (ในบางสาขา เช่น สาขาการแพทย์) ซึ่งอาจจะกระทบสิทธิแรงงานที่ต้อง
ทํางานมากขึ้นกว่าเดิม (ทั้งการขยายอายุเวลาเกษียณ และการทํางานล่วงเวลา) นัยยะที่สอง เป็นผลที่ตามมา
จากแรงงานขาดแคลน จะทําให้เกิดการนําเข้าแรงงานต่างด้าวมากขึ้น เพื่อทดแทนแรงงานในประเทศที่มี
จํานวนลดลง การดูแลจัดการสิทธิแรงงานสําหรับคนต่างด้าวจึงจะมีบทบาทที่สําคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง เมื่อมีความต้องการแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่กฎระเบียบภาครัฐยังมีพัฒนาการที่ตามไม่ทัน จนทําให้
เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้น นัยยะที่สามจะเป็นผลกระทบของการมีจํานวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น ที่นําไปสู่ความ
ต้องการการบริการทางการแพทย์ที่มากยิ่งขึ้น ในประเด็นนี้พบว่า ภาคธุรกิจในต่างประเทศที่ได้เข้าสู่สังคมสูง
วัยก่อนหน้าประเทศไทย มักจะมีพฤติกรรมที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น การผูกขาดยา หรือเวชภัณฑ์ที่
จําเป็น การร่วมมือกันผูกขาดบริการทางการแพทย์ทําให้ต้นทุนการใช้บริการภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น การตรวจตรา
เพื่อให้กลไกการป้องกันการผูกขาดจึงเป็นประเด็นที่สําคัญที่ควรจะคํานึงถึงเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงการรักษา
ทางการแพทย์ในราคาที่เป็นธรรม
1.2.2 การผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เป็นหนึ่งในทิศทางหลักในการพัฒนาทางด้าน
สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกหลัง ค.ศ. 2015 โดยเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals: SDGs) จะประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายและ 169 เป้าประสงค์ (โปรดดูรายละเอียด
เพิ่มเติมในส่วนที่ 4.1.4 ต่อไป)
1.2.3 ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ มีแนวโน้มขยายตัวและควบคุมได้ยาก มีการ
เชื่อมโยงในภูมิภาคและพัฒนาการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น
โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มอาชญากร ที่เข้ามาอาศัยช่องว่างทางด้าน
กฎหมายในการสร้างอิทธิพล และแทรกซึมอยู่ในระบบตลาด ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อธุรกิจท้องถิ่น ใน
ขณะเดียวกัน กลุ่มอาชญากรก็ได้มีการค้ามนุษย์ โดยลักลอบนําแรงงานเข้าเมือง มีการใช้แรงงานเด็ก การค้า
ประเวณี โดยประเทศไทยถูกจัดให้เป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่านและประเทศปลายทางของขบวน
4-13