Page 159 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 159

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               อีกหนึ่งช่องทางที่สําคัญในการยกระดับความตระหนักรู้ถึงปัญหา พร้อมๆ กับการสร้างพลังประชาชนเพื่อช่วย

               ตรวจสอบ ตรวจตราการเอารัดเอาเปรียบจากภาคธุรกิจ ไปจนถึงการให้การสนับสนุนธุรกิจที่เคารพสิทธิ

               มนุษยชน

                       ในทางตรงกันข้าม การพัฒนาของเทคโนโลยีก็นํามาซึ่งสิทธิรูปแบบใหม่ๆ เช่น สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

               ซึ่งอาจจะต้องมีการเฝ้าระวังและพัฒนารูปแบบการดูแลจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบใหม่ๆ ที่

               เกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ การเข้ามาของเทคโนโลยียังทําให้
               ผู้บริโภคมีการใช้สื่อออนไลน์ในการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น โดยธุรกิจที่ซื้อขายออนไลน์มีจํานวนไม่น้อยที่ไม่ได้

               ถูกกํากับดูแลโดยภาครัฐ ซึ่งนําไปสู่ปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภค เช่น การโฆษณาเกินสรรพคุณ การขายสินค้า

               ที่อันตราย เป็นต้น

                       1.1.3   ประเทศมหาอํานาจมีแนวโน้มที่จะขยายอิทธิพล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจใน

               ภูมิภาคต่างๆ ในโลก โดยการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจจะมาในรูปแบบของการลงทุนข้ามชาติที่จะเข้ามา
               ลงทุนในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนของจีนในไทยในปัจจุบันที่มีบทบาทมากขึ้น ผลกระทบ

               ที่สําคัญก็คือ การลงทุนของบริษัทข้ามชาติอาจจะกระทบต่อสิทธิของชุมชนที่เคยมีอยู่ดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น การ

               ลงทุนของบริษัทข้ามชาติที่อาจจะก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชน  นอกจากนี้ การขยายอิทธิพลอาจจะมาในรูปของ
               ข้อตกลงทางการค้า เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) ที่รูปแบบข้อตกลงจะ

               ไม่ใช่การเปิดเสรีทางการค้าเพียงอย่างเดียว แต่จะมีข้อตกลงอื่นๆ ที่อาจจะกระทบสิทธิของประชาชนได้ เช่น

               เรื่องสิทธิบัตรยา เป็นต้น

                       1.1.4   เศรษฐกิจไทยในช่วง 4  ปีแรกของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11  เริ่มแสดงให้เห็นถึงข้อจํากัด

               ทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการลดลงของขีดความสามารถทางด้านการแข่งขัน
               สําหรับสินค้าส่งออกของไทย ในขณะเดียวกัน ระดับหนี้ครัวเรือนต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมที่อยู่ในระดับที่สูง

               ทําให้ประเทศไทยมีอุปสงค์ในประเทศที่ค่อนข้างจํากัด ร่วมกับการเจริญเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจโลก และ

               การค้าขายระหว่างประเทศ ผลที่ตามมาจึงทําให้ธุรกิจมีความสามารถในการสร้างกําไรที่ลดลง ซึ่งอาจจะ
               นําไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้บริโภค แรงงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบ ชุมชน หรือมีพฤติกรรมที่ผูกขาดเพื่อเร่งสร้างกําไร

               ก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น การลดคุณภาพของสินค้า (ละเมิดสิทธิผู้บริโภค) การลดสวัสดิการ หรือการให้ทํางานเกิน

               เวลาโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา (สิทธิแรงงาน) การเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรภายใต้เครือข่ายพันธสัญญา (สิทธิ
               ของผู้ผลิตวัตถุดิบ หรือ supplier) การสร้างมลพิษ ของเสียโดยไม่มีการบําบัด (สิทธิชุมชน) การร่วมมือกับ

               พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อยกระดับราคาสินค้า ซึ่งผิด พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า

                       1.1.5   ภาครัฐมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความจําเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน

               อนาคต ซึ่งการลงทุนดังกล่าวอาจจะกระทบต่อสิทธิชุมชนได้ เช่น โครงการเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อาจจะ

               ต้องมีการเวนคืนที่ดินของชุมชน โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน





                                                           4-12
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164