Page 164 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 164

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       3.6  ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลใน

               สังคมไทย มีการระบุถึงการพัฒนากฎระเบียบ กระบวนการยุติธรรม และการสร้างความรู้ ความเข้าใจทางด้าน

               กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่จะช่วยสนับสนุนการคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน

                       3.7  ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ มีการระบุถึงการเพิ่ม

               ประสิทธิภาพและขยายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ทั่วถึง พร้อมๆ กันกับการคุ้มครองสิทธิ

               ส่วนบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการ

                       3.8  ในยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา มีการระบุถึงการให้ความสําคัญกับ

               ความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับที่เป็นวงกว้างขึ้น โดยผลักดันให้การพัฒนาประเทศไทยสอดคล้องกับ
               มาตรฐานสากลและข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน

               ข้ามชาติ กฎการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานทาส


                       4.1.4  เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable  Development

               Goals - SDGs)

                       เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่

               ปี ค.ศ. 2000 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2015  องค์การสหประชาชาติ จึงได้ริเริ่มกระบวนการหารือเพื่อกําหนด
               วาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนา

               ที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสําคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 คือ การจัดทําเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

               (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)

                       สหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศให้ความสําคัญเป็นอย่างมากกับการกําหนดวาระ

               การพัฒนาของสหประชาชาติภายหลังปี ค.ศ. 2015 เนื่องจากวาระการพัฒนาชุดใหม่นี้จะเป็นยุทธศาสตร์
               การพัฒนาระหว่างประเทศที่สําคัญที่สุดต่อไปอย่างน้อยในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการกําหนด

               บริบทการพัฒนาและการระดมทรัพยากรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศมาเพื่อรองรับวาระการพัฒนา

               ดังกล่าว รวมทั้งนําไปสู่การกําหนดยุทธศาสตร์และแผนงานของประเทศสมาชิก หน่วยงานภายใต้องค์การ
               สหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษ และหน่วยงานด้านการพัฒนา


                                                                                                    6
                       กระบวนการเพื่อกําหนดเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก  ได้แก่
               การจัดตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยวาระการพัฒนาของสหประชาชาติ กระบวนการเจรจาระหว่าง

               รัฐบาล และการจัดตั้ง Global Thematic Working Groups






               6
                  อุรวดี ศรีภิรมย์. “รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual  study)  เรื่อง ประเด็นที่ไทยควรผลักดันในการจัดทํา
                   วาระการพัฒนาของสหประชาชาติภายหลัง ค.ศ. 2015.”



                                                           4-17
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169