Page 162 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 162
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ภาครัฐปรับปรุงกฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นไปตาม
มาตรฐานสากล และสอดคล้องกับพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ทําความตกลงเอาไว้กับต่างประเทศ
1.4.4 ระบบยุติธรรมยังขาดประสิทธิภาพ และไม่สามารถอํานวยความยุติธรรมได้อย่างเสมอภาค
เป็นธรรม และไม่สอดรับความเป็นสากล ปัญหาในด้านระบบยุติธรรม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น
การมีโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งกฎระเบียบ กฎหมาย หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น แหล่งพักพิงสําหรับเหยื่อผู้ที่ถูกละเมิด
สิทธิ หรือ กลไกการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิด เช่น ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ล่าม หรือ เกิดจากการแทรกแซง
จากกลุ่มการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ ที่ทําให้กลไกความยุติธรรมขาดความโปร่งใส หรือการ
ขาดกลไกการดูแลเป็นพิเศษ สําหรับผู้ที่แจ้งเบาะแส ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน หรือ ผู้ที่ถูกฟ้องเพื่อไม่ให้เปิดเผย
ข้อมูล (Strategic Lawsuit Against Public Participation: SLAPP)
2. ในส่วนของวัตถุประสงค์และเป้าหมายรวมของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 12 พบว่ามีการกําหนด
วัตถุประสงค์ที่ไม่ได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจโดยตรง แต่ก็ได้มีการ
กําหนดเป้าหมายที่อยากจะให้สังคมไทยพึงมี ดังนี้
2.1 การวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความสุข มีครอบครัวที่
อบอุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมิได้หากประชาชนถูกลิดรอนสิทธิ
2.2 การพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ และมีความยั่งยืน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมิได้หากธุรกิจ
ไม่สามารถสร้างเครือข่ายการผลิตที่เข้มแข็ง มีการแข่งขันทางการค้าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการ
พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในองค์กรที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของธุรกิจ
2.3 ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะ
เกิดขึ้นมิได้หากชุมชนไม่ได้รับการเคารพในสิทธิอย่างเหมาะสม
2.4 การบริหารจัดการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและมีการทํางานเชิงบูรณาการของ
ภาคีการพัฒนา เป็นพื้นฐานในการสนับสนุนธรรมาภิบาลของประเทศที่จะเป็นหนี่งในกลจักรที่สําคัญที่ทําให้
ระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 12 ได้แบ่งการดําเนินการออกเป็น 10 ยุทธศาสตร์ ประกอบไป
ด้วย 6 ยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (2) ยุทธศาสตร์
การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ําในสังคม (3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและ
แข่งขันได้อย่างยั่งยืน (4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน และ
(6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย
และ 4 ยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์และกลไกสนับสนุนให้การดําเนินยุทธศาสตร์ทั้ง 6
4-15