Page 161 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 161
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
การค้ามนุษย์ และถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับขั้น Tier 2 Watch List จากกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ
(ซึ่งหากตกอยู่ในอันดับขั้น Tier 3 จะมีสิทธิที่จะถูกมาตรการกีดกันทางการค้าได้)
1.3 มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มเสื่อมโทรมลง ในขณะที่การจัดสรร
ทรัพยากรธรรมชาติยังไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดํารงชีวิต การ
ประกอบอาชีพ (ดิน ป่าไม้ น้ํา ทรัพยากรชายฝั่งทะเล และแร่) ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เสมอภาคในสิทธิและ
อํานาจการจัดการทรัพยากร จึงนําไปสู่ข้อพิพาทในระดับพื้นที่ระหว่าง ภาครัฐ เอกชนและชุมชน โดยในบาง
กรณีได้นําไปสู่การใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา
1.4 มิติทางด้านธรรมาภิบาล
1.4.1 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาความอ่อนแอทางด้านธรรมาภิบาล โดยผลการ
ประเมินดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index: CPI) ได้คะแนนอยู่ที่ร้อยละ 38 (เต็ม
100) และถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 76 จากอันดับทั้งหมด 168 ประเทศทั่วโลก
ปัญหาด้านธรรมาภิบาลส่งผลต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 ระดับ โดยในระดับแรกจะเป็น
ปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการปัญหา ซึ่งการขาดธรรมาภิบาลสะท้อนถึงปัญหาการขาด
การบูรณาการของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหา ในระดับที่สอง จะเป็นปัญหากลไก
การตรวจสอบภายในของภาครัฐ ที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ และถูกแทรกแซงได้โดยผู้มีอิทธิพล หรือกลุ่มธุรกิจ
การขาดกลไกการตรวจสอบการดําเนินงานที่เข้มแข็ง ทําให้การดําเนินงานของภาครัฐในขั้นตอนแรกขาดแรง
กระตุ้นในการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน ในระดับที่สาม เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วน เข้ามามีส่วนร่วมรู้
เห็นในการกระทําความผิด เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง ปัญหาทั้ง
สามระดับนี้ทําให้การดูแลการจัดการปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยภาครัฐยังมีช่องว่างในการพัฒนา
อีกมาก
1.4.2 รัฐวิสาหกิจยังขาดการกํากับดูแลการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ทําให้ผลการดําเนินงาน
ด้อยคุณภาพ และปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอาจจะเป็นประเด็นที่ถูกคํานึงถึงน้อยที่สุด (ยกเว้นกรณีที่มีกลุ่ม
บุคคลที่ดูแลสิทธิบางประเภท เช่น กลุ่มสหภาพแรงงานที่ดูแลสิทธิแรงงาน)
1.4.3 กฎหมายหลายฉบับยังไม่ได้มาตรฐานสากล มีปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาตรากฎหมาย
หรือปรับปรุงกฎหมาย และ/หรือ มีปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ/หรือ ขาดการ
วิเคราะห์อย่างรอบด้าน และ/หรือ มุ่งที่จะควบคุมมากกว่าที่จะสนับสนุนการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งทั้งหมด
ขั้นต้น ทําให้เกิดช่องโหว่ที่ภาคธุรกิจสามารถละเมิดสิทธิของประชาชนได้ จึงควรที่จะมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแล
4-14