Page 166 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 166
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ขั้นตอนที่สอง กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามผลการประชุม Rio+20 วรรคที่ 248
ตามข้อตัดสินใจของประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 67 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 โดยในกระบวนการ
จัดทําเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น UN ได้ดําเนินการจัดตั้ง Open Working Group on Sustainable
8
Development Goals (OWG on SDGs) ซึ่งเป็นคณะทํางานระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทํา SDGs ให้สมัชชาใหญ่
แห่งสหประชาชาติ (The United Nations General Assembly: UNGA) พิจารณาในช่วงเดือนกันยายน
2557 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 30 ที่นั่ง ทั้งนี้ กลุ่มเอเชียและแปซิฟิกได้รับโควตา 7 ที่นั่งสําหรับสมาชิก
ของกลุ่มซึ่งมี 21 ประเทศ จึงตกลงแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสมาชิก 3 ประเทศใช้ระบบหมุนเวียน
(rotation) โดยประเทศสมาชิกในแต่กลุ่มจะผลัดกันเป็นผู้แทนใน OWG โดยประเทศไทยได้อยู่กลุ่มเดียวกับ
ประเทศภูฏานและประเทศเวียดนาม และคณะทํางานนี้ได้เริ่มการเจรจาเพื่อจัดทําข้อเสนอเป้าหมาย
Sustainable Development Goals ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 68 ภายในปี พ.ศ. 2557
ขั้นตอนที่สาม จัดตั้ง Global Thematic Working Groups โดยสหประชาชาติ เพื่อติดตามและ
ขยายผลการประชุม Rio+20 โดยแบ่งคณะทํางานเพื่อศึกษาทั้งสิ้นรวม 11 หัวข้อ ได้แก่ (1) ความไม่เท่าเทียม
(2) สุขภาพ (3) การศึกษา (4) การเติบโตและการจ้างงาน (5) ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (6) ธรรมาภิบาล
(7) ความขัดแย้งและความเปราะบาง (8) พลวัตทางประชากร (9) ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ
(10) พลังงาน และ (11) น้ํา
แต่ละคณะทํางานมีประเทศสมาชิกและหน่วยงานสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สนับสนุนหลักใน
การศึกษาแต่ละหัวข้อ ซึ่งเสร็จสิ้นการศึกษาเมื่อเดือนมีนาคม 2556 และต่อมาได้มีการรวบรวมจัดทํา
ข้อเสนอแนะเสนอต่อเลขาธิการสหประชาชาติ
นอกจากการดําเนินการใน 3 ขั้นตอนหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีการประชุมทางการเมืองระดับสูงว่าด้วย
การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เรียกว่า High-Level Political Forum on Sustainable Development (HLPF) ซึ่งถูก
จัดตั้งขึ้นเป็นกลไกหลักในการดําเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อแทนที่ Commission on Sustainable
Development (CSD) ที่ได้ยุบเลิกไปแล้ว เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้นําในกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน
และหลีกเลี่ยงข้อจํากัดของ CSD ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สมาชิก โดยมีการประชุมครั้งแรกซึ่งเป็นการประชุมของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในสมัยวาระที่ 68 ที่
ผ่านมาอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 2012 ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของการประชุมสุดยอดในเรื่องสิ่งแวดล้อมครั้งแรกหรือ
United Nations Conference on Environment and Development (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม
8 United Nations, General Assembly A/67/L.48/Rev.1. (2013). “ Open Working Group of the
General Assembly on Sustainable Development Goals.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.un.org/ga/search/view_doc.asp?symbol=A/67/L.48/Rev.1&Lang=E
4-19