Page 157 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 157
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
(1) การพัฒนาของประเทศไทยขาดความต่อเนื่อง
เนื่องจากมักเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล ซึ่งมุ่งหวังประโยชน์ระยะสั้นในช่วงอายุของรัฐบาล
มากกว่าประโยชน์ของประเทศในระยะยาว
(2) แผนพัฒนาของประเทศไทยกระจัดกระจายอยู่ตามรายกระทรวง
หน่วยงานต่างๆ มีการจัดทําแผนและยุทธศาสตร์ระยะต่างๆ ที่เป็นเอกเทศ ทําให้แผนขาดการ
บูรณาการ และขาดการจัดลําดับความสําคัญ
(3) การจัดสรรงบประมาณและจัดสรรทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นการดําเนินการแบบแยกส่วน
เนื่องจากแผนพัฒนาของไทยกระจัดกระจายตามที่กล่าวมาข้างต้น การใช้เงินงบประมาณจึงเป็น
แบบแยกส่วน ส่งผลให้การลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศขาดความต่อเนื่อง และเป็นไปตาม
นโยบายของแต่ละรัฐบาล
(4) ภาคเอกชนมีโอกาสร่วมน้อยและภาคประชาชนเกือบไม่มีส่วนร่วม
การกําหนดอนาคตของประเทศเกิดจากภาครัฐเป็นหลัก ไม่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ที่มีภาคเอกชน
และภาคประชาชนเข้าร่วมอย่างจริงจัง
(5) ประเทศพัฒนาแล้วมียุทธศาสตร์ชาติ
ประเทศพัฒนาแล้วกว่า 60 ประเทศทั่วโลกมียุทธศาสตร์ชาติ แต่ประเทศไทยกลับไม่มีการ
กําหนดยุทธศาสตร์ชาติ ทําให้ประเทศล้าหลัง
ร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ฉบับที่เสนอโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประกอบด้วย
บทบัญญัติทั้งสิ้น 61 มาตรา โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด และบทเฉพาะกาล ได้แก่
หมวดที่ 1 การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ
หมวดที่ 2 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและการสรรหา
หมวดที่ 3 การติดตาม ตรวจสอบ ไต่สวน และการประเมินผล
หมวดที่ 4 คณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ชาติ และ
หมวดที่ 5 สํานักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้ สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก คือ
ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่สอง คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และ ประเด็นสุดท้าย คือ การติดตาม
ตรวจสอบ ไต่สวน และการประเมินผล
4-10