Page 156 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 156
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
เพื่อแก้ไขปัญหาการผลักดันนโยบายสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ในระยะสั้น (Short-termism) แต่สร้าง
ผลกระทบระยะยาวต่อประชาชน จึงต้องมีการกําหนดวิสัยทัศน์ประเทศและวางกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ
ยาวไว้ โดยรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศจะต้องเสนอนโยบายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประเทศและกรอบ
ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว ในลักษณะที่เหมือนกับ “งูที่อยู่ในอุโมงค์”(Snake in the Tunnel) (ดูแผนภาพที่
4.1)
แผนภาพที่ 4.1 “บันไดลิง” และ “งูที่อยู่ในอุโมงค์”
ที่มา: สภาปฏิรูปแห่งชาติ (2558), รายงาน “วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทย และการปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ”
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งทําหน้าที่ต่อเนื่องจากสภาปฏิรูป
แห่งชาติ มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ตามรายงานที่คณะกรรมาธิการสภา
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินเสนอ และให้คณะกรรมาธิการฯ นําความคิดเห็น
และข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งไปยังคณะรัฐมนตรี
เพื่อดําเนินการต่อไป
เหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ทั้งฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของสภา
ปฏิรูปแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศนั้นมีเนื้อหาไม่แตกต่างกันมากนัก โดยแบ่งออกได้เป็น
5 ข้อ ได้แก่ (1) การพัฒนาของประเทศไทยขาดความต่อเนื่อง (2) แผนพัฒนาของไทยกระจัดกระจายอยู่ตาม
รายกระทรวง (3) การจัดสรรงบประมาณและจัดสรรทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นการดําเนินการแบบแยกส่วน
(4) ภาคเอกชนมีโอกาสร่วมน้อยและภาคประชาชนเกือบไม่มีส่วนร่วม และ (5) ประเทศพัฒนาแล้วมี
ยุทธศาสตร์ชาติ เหตุผลในแต่ละข้อตามที่ปรากฏในเอกสารของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรายงานของสภา
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสามารถสรุปได้ดังนี้
4-9