Page 155 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 155
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
จัดทําขึ้นเพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ทั้งนี้ ในเอกสารวาระปฏิรูป เรื่อง การกําหนดยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับนี้
4
สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ยกร่างร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ไว้ในภาคผนวก ก. ของเอกสารด้วย
นอกเหนือจากเอกสารวาระปฏิรูปฉบับดังกล่าวแล้ว สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จัดทําวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย ยังได้จัดทํารายงาน “วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูป
5
ประเทศไทย และการปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ” ขึ้น เพื่อเสนอแนวทางการจัดทําวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การ
ปฏิรูปประเทศไทย รายงานฉบับนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางหลักการและกรอบทั่วไปในการปฏิรูปประเทศ
ในประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมถึงการกําหนดยุทธศาสตร์ชาติ
รายงาน “วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทย และการปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ” สรุป
สถานการณ์ในภาพรวมของประเทศไทยไว้ 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ตําแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยใน
เวทีโลก (2) ปัญหาคุณภาพคนกับขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของประเทศ (3) การเผชิญกับกับดัก
ประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (4) การเผชิญกับกับดักความเหลื่อมล้ํา และ (5) การเผชิญกับกับดัก
คุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม ภายใต้สถานการณ์ข้างต้น รายงานฉบับนี้จึงเสนอว่า ประเทศไทย “...จํา
เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “วิสัยทัศน์” เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาประเทศให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับ
ประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยยึด “ผลประโยชน์ชาติ” เป็นสําคัญ นอกจากนี้ ยังต้องกําหนด “กรอบ
ยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ที่กําหนดไว้ได้”
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาตินั้น รายงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติฉบับนี้เสนอว่า ที่ผ่านมา
ประเทศไทยมิได้มีการกําหนดวิสัยทัศน์ประเทศและยุทธศาสตร์ชาติไว้ ทําให้การกําหนดนโยบายสาธารณะมี
ลักษณะเหมือนกับ “บันไดลิง” กล่าวคือ พรรคการเมืองที่เข้ามาทําหน้าที่ฝ่ายบริหารมักให้ความสําคัญกับ
นโยบายที่ตนเองได้หาเสียงไว้กับประชาชนเป็นหลัก เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล รัฐบาลใหม่ก็จะผลักดันนโยบายของ
ตนเองตามที่ได้หาเสียงไว้ โดยไม่สนใจที่จะสานต่อนโยบายที่ได้ดําเนินไปแล้วจากผู้บริหารชุดก่อน ด้วยเหตุนี้
จึงทําให้ไม่มีการกําหนดทิศทางการขับเคลื่อนประเทศที่ชัดเจน แต่เป็นการตอบโจทย์ปัญหาเฉพาะหน้าเป็น
หลัก และเน้นนโยบายหรือมาตรการที่เกิดผลในระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม เพื่อรักษาฐานคะแนน
เสียง
4 สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2559). “สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปพิเศษ ๔: การกําหนดยุทธศาสตร์ชาติ.” [ระบบ
ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/
download/parcy/007.pdf
5 สภาปฏิรูปแห่งชาติ. “สภาปฏิรูปแห่งชาติ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทยและการปรับเปลี่ยนกลไก
ภาครัฐ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/
download/parcy/001.pdf
4-8