Page 154 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 154
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
จะมีการดําเนินคดีทางกฎหมายเพื่อให้สามารถทําการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นสิทธิมนุษยชนได้
โดยไม่ถูกแทรกแซง
ผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ กสม. จําเป็นที่จะต้องทบทวนการทํางาน และปรับปรุงระบบเพื่อทําให้
องค์กรสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน และจําเป็นที่จะต้อง
จัดทําแผนยุทธศาสตร์และมีแผนปฏิบัติการที่สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการ
ขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีทิศทางและมีพลัง ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์จําเป็นต้องให้คุณค่าในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1)
ส่งเสริมและติดตามให้ทุกภาคส่วนของสังคมเกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับการรับรองตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศ
ไทยจะต้องปฏิบัติตาม 2.) เน้นการดําเนินงานที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของภาครัฐและ
ภาคเอกชน โดยการขับเคลื่อนและผลักดันอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน 3) มุ่ง
การทํางานร่วมกับเครือข่ายภายในประเทศและพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการสร้างพลัง
(synergy) ในการทํางานร่วมกัน 4) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน
สื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งผลงานสําคัญของ กสม. ต่อสาธารณชน
อย่างถูกต้องและทั่วถึง และ 5) เสริมสร้างและพัฒนากระบวนการทํางานและการบริหารจัดการองค์กรให้
เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ กสม. ว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2560-2562 นั้น มีขึ้นเพื่อสอดรับ
กับแผนยุทธศาสตร์ที่ กสม. กําลังจะมุ่งไปในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่ได้มีการจําแนก
รายละเอียดลงไปเป็นแผนกลยุทธ์ถึง 3 แผนกลยุทธ์ และหนึ่งในนั้นคือ การสนับสนุนบทบาทของภาคธุรกิจใน
การเคารพสิทธิมนุษยชน แผนยุทธศาสตร์ของ กสม. จะเข้ามามีบทบาทสําคัญในการสร้างระบบขององค์กร
และทําให้องค์กรดําเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาของการจัดทําแผน
ยุทธศาสตร์ฉบับนี้ อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่คณะกรรมการชุดที่ 3 จึงจําเป็นต้องพิจารณาประเด็นท้าทายและ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อย่างครบถ้วนรอบด้าน และหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้ง การดําเนินการและ
บรรลุตามเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน องค์กร หน่วยงาน
ภาครัฐ องค์กรเอกชน ก่อให้เกิดความตระหนักถึงความจําเป็นและการมีอยู่ของ กสม. เพื่อคงไว้ตามหลักการ
และเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ต่อไป
4.1.2 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ตั้งขึ้นตามมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เพื่อทําหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทางเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ได้แก่
(1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น
(5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7) พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคม และ
(11) อื่นๆ โดยการกําหนดยุทธศาสตร์ชาตินั้นเป็นวาระปฏิรูปวาระหนึ่งซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ดําเนินการ
4-7