Page 153 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 153

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               สิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ประเมินสถานะของ กสม. ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 และ

               แสดงความวิตกต่อกระบวนการสรรหาตัวกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การขาดความเป็นอิสระ และความ

               ล้มเหลวของ กสม. ในการจัดการประเด็นสิทธิมนุษยชนต่างๆ อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในยุคทหารปกครอง
               ประเทศ ในครั้งนั้น ICC  ให้เวลา 12 เดือน เพื่อให้ กสม. ปรับปรุงแก้ไขเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งเมื่อเดือน

               พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ICC เสนอข้อแนะนําให้ลดสถานะหน่วยงานของไทยจากสถานะ A เป็นสถานะ B (ใน

               จํานวนทั้งหมด 3 สถานะ) ทั้งนี้ กสม. จะต้องดําเนินการพัฒนาระบบและกลไกให้ตอบสนองต่อการแก้ไขหรือ
                                                                                     3
               ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ

                       1)  การรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. ยังคงมีความล่าช้าและไม่ทันต่อ

               เหตุการณ์ ซึ่งพิจารณาได้จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีการใช้ความรุนแรงและมีการละเมิดสิทธิ
               มนุษยชน 2 เหตุการณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2553 และช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 - พฤษภาคม พ.ศ.

               2557 ทั้งนี้ ในเหตุการณ์แรก กสม. ใช้เวลาถึง 3 ปี ในการตรวจสอบและจัดทํารายงาน และเหตุการณ์ที่ 2 ได้

               เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ กสม. พึงใช้ความระมัดระวังในการ
               ทํางานและรักษาความเป็นกลางเพื่อส่งเสริมและสร้างหลักประกันในการเคารพสิทธิมนุษยชน ความเป็น

               ประชาธิปไตยและการเสริมสร้างหลักนิติรัฐในทุกสถานการณ์โดยปราศจากข้อยกเว้น โดยจะต้องมีการติดตาม
               การเก็บข้อมูล การออกแถลงการณ์และการเผยแพร่รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างละเอียดและ

               สม่ําเสมอ โดยผ่านสื่อมวลชนอย่างทันท่วงที ยิ่งกว่านั้น กสม. ควรจะต้องมีกระบวนการติดตามผลการ

               ดําเนินงานตามข้อเสนอแนะ และผลักดันให้ข้อเสนอแนะของตนมีผลในทางปฏิบัติเพื่อสร้างหลักประกันในการ
               คุ้มครองบุคคลที่ถูกละเมิด ทั้งนี้ มาตรการข้างต้น โดยเฉพาะการเผยแพร่รายงานต่อสาธารณชนจะนําไปสู่การ

               นําผู้กระทําผิดมาลงโทษ


                       2)  กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง กสม. นั้นไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ
               กันอย่างกว้างขวางหรือการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการรับสมัคร การคัดกรองและ

               กระบวนการสรรหา รวมถึงการเผยแพร่โฆษณาที่ว่างเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมและ

               การมีเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครที่ชัดเจนและมีรายละเอียดเพียงพอ ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา
               ควรมีกระบวนการที่โปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วม ให้ความสําคัญกับคุณสมบัติของผู้สมัครในการสรรหา โดย

               บรรจุในประเด็นต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติที่มีผลผูกพันตามความ

               เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน

                       3)  กสม. จะต้องได้รับความคุ้มครองในการทํางานของตนโดยบัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่าง

               ชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตของ กสม. ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากภายนอก หรือถูกข่มขู่ที่



               3
                   ผลการทบทวนสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนใน ICC. สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ กสม
                   0008/1168 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558



                                                           4-6
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158