Page 152 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 152

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               เป็นการกระจายภาระงาน สร้างความยืดหยุ่นและอิสระของแต่ละกรรมการเอง แต่ก็ทําให้กรรมการแต่ละท่าน

               ขาดโอกาสที่จะพัฒนามุมมอง ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในมิติสิทธิมนุษยชนให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และ

               ไม่กล้าที่จะริเริ่มนโยบายหรือการดําเนินการใดๆ ที่ตนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือมีความเชี่ยวชาญได้อย่างเต็มที่

                       6)  ปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก อาทิ ปัญหากระบวนการสรรหา ปัญหาความเข้าใจใน

               อํานาจหน้าที่ของ กสม. กับบทบาทอํานาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน

                       ในแง่ของสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางสากลนั้น การที่ กสม. ใน

               ฐานะเป็นสถาบันแห่งชาติที่ทําหน้าที่เป็นกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่

               เชื่อมโยงกับกลไกหลักของสหประชาชาติคือ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council)  และกลไก
               ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามจํานวน

               7 ฉบับ และยังมีอีก 2 ฉบับที่จะต้องผลักดันให้มีการอนุวัติการต่อไป

                       กสม. ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติของประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบ

               ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค และระดับสากล ปัจจุบันได้เกิดความร่วมมือ

               ระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมถึงการเกิดขึ้นหรือการสร้างกลไก
               ใหม่ๆ ที่มีความสําคัญในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการยอมรับจากประชาสังคม

               ระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในระดับภูมิภาคต่างๆ องค์การ

               ระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มีหน้าที่ในด้านต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)  กองทุน
               สหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UNIFEM)  กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)  องค์การอาหาร

               และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

               (UNHCR)  กลไกใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน คณะกรรมาธิการ
               สิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลอาเซียน จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ กสม. ต้องให้ความสําคัญกับการทําหน้าที่และแสดง

               บทบาทในเวทีระหว่างประเทศเพื่อให้ได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               กรอบความร่วมมือสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการ
               ประสานงานระหว่างประเทศของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (International Coordinating Committee

               of National Human Rights Institutions – ICC) ซึ่งจะมีการประเมินและทบทวนสถานะของสถาบันสิทธิ

               มนุษยชนแห่งชาติในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่กระบวนการสรรหาและการแต่งตั้ง
               กระบวนการทางนิติบัญญัติในการจัดทํากฎหมายจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น


                       อย่างไรก็ดี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 สํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ง
               สหประชาชาติประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (OHCHR) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ออกถ้อยแถลง

               ระบุว่า กสม. ถูกลดสถานะจากสมาชิกเต็มรูปแบบเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ คณะอนุกรรมการประเมินสถานะ

               ภายใต้ ICC (ICC Subcommittee on Accreditation – SCA) ซึ่งทําหน้าที่ประเมินผลงานของหน่วยงานด้าน





                                                           4-5
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157