Page 151 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 151

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ประชาชนเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของ กสม. อยู่ในระดับต่ํากว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ มีปัญหาและ

                                                                         2
               ข้อจํากัดหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการดําเนินการ  ดังนี้

                       1)  ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการเริ่มต้น ปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเริ่มกระบวนการ
               ตรวจสอบโดยเสนอคําร้อง ปัญหาเกี่ยวกับการเริ่มกระบวนการโดย กสม. หรือ ปัญหาเกี่ยวกับการรับและการ

               ปฏิเสธไม่พิจารณาคําร้อง ยังคงมีความล่าช้าในการพิจารณาอยู่ในหลายๆ กรณี ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ขาดระบบ

               การคัดกรองเรื่องที่จะนําไปสู่การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                       2)  ปัญหาเกี่ยวกับระบบคณะอนุกรรมการ ทั้งนี้ พบว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงและ

               แสวงหาพยานหลักฐาน อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับอํานาจในการรับฟังข้อเท็จจริงและแสวงหาพยานหลักฐาน ปัญหา
               เกี่ยวกับมาตรฐานในการรับฟังและพิสูจน์ข้อเท็จจริง ปัญหาเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

               ภายนอก ปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินการต่อผู้ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือในกระบวนการรับฟังข้อเท็จจริง

               หรือความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกลไกและวิธีการไกล่เกลี่ยในระหว่างการตรวจสอบและผลผูกพันของการไกล่เกลี่ย
               เป็นต้น เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการตรวจสอบและให้เหตุผลในการตรวจสอบยังขาดหลักเกณฑ์

               ที่ชัดเจนในการพิจารณา

                       3)  ปัญหาความล่าช้าและคุณภาพในการจัดทํารายงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านที่เกี่ยวกับการระบุ

               รายละเอียดข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านการให้เหตุผลในการเสนอความเห็น

               หรือ การเสนอมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงความ
               ไม่เชี่ยวชาญและขาดบุคลากร หรือการทํางานที่ไม่เหมาะสมกับตําแหน่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้

               เพราะการทํางานมิได้พัฒนาบุคลากรของสํานักงานฯ   แต่อาศัยการดึงบุคลากรจากภายนอกมาเป็น

               อนุกรรมการฯ ไม่มีหลักสูตรอบรมในการสร้างความเชี่ยวชาญแก่เจ้าหน้าที่

                       4)  ปัญหาการประสานงานร่วมมือและการดําเนินการภายหลังการตรวจสอบ กสม. ยังคงไม่มี

               ทรัพยากรที่เพียงพอในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวกับการแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้เกี่ยวข้องและการติดตามผล
               กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการติดตามผลการดําเนินการของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา ความสัมพันธ์

               ระหว่าง กสม. และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังคงมีความยากลําบากและไม่ค่อยได้รับความร่วมมือที่จะ

               เสนอแนะให้หน่วยงานนั้นๆ ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะดังปรากฏอยู่ในรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
               มนุษยชน ทําให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้รับการแก้ไขและเยียวยาอย่างแท้จริง


                       5)  ปัญหาเกี่ยวกับการทํางานของ กสม. พบว่าคณะกรรมการแต่ละท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและ
               ประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ในการทํางานจึงมักจะแบ่งภาระงานตามความถนัดของตนมากกว่า  แม้ว่า



               2    สรุปและวิเคราะห์บางส่วนมาจาก รศ.ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ. “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.” คณะนิติศาสตร์

                   สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.  [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
                   http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F06923.pdf



                                                           4-4
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156