Page 150 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 150

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในขณะนั้นพบว่า ประชาชนร้อยละ 80 ต่างสนับสนุนให้มี

                       1
               กสม. ขึ้น

                       ที่ผ่านมา กสม. ต้องประสบกับความแปรเปลี่ยนของสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็น
               ความก้าวหน้าและความถดถอย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์สิทธิ

               มนุษยชนหลายประการ อีกทั้งมีการพัฒนาการเชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชนใหม่ๆ ภายในประเทศหลายประการ

               ทั้งในด้านองค์กร กลไกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎหมาย อาทิ การแก้ไขปรับปรุงและออกกฎหมายที่ตอบสนอง
               และเอื้อต่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณา

               ความอาญาให้กระบวนการยุติธรรมสําหรับเด็กและสตรีเป็นไปในทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน

               สากลมากขึ้น กฎหมายการทํางานของคนต่างด้าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ
               2550  ได้รับรองสิทธิของชุมชนตามมาตรา 66  และมาตรา 67  ในเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟู จัดการใช้ประโยชน์

               จากทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งโดยชุมชนเองและโดยร่วมกับรัฐ สิทธิในความคุ้มครองการใช้ประโยชน์ คุ้มครอง

               จากผลกระทบจากโครงการหรือกิจกรรมที่จะเข้ามาดําเนินการในชุมชน และสิทธิในการฟ้องหน่วยงานให้
               ปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังเกิดองค์กรและเครือข่ายของภาคเอกชน เพื่อการต่อสู้

               เรียกร้อง ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในหลากหลายรูปแบบ เช่น กลุ่ม ชุมชน มูลนิธิ สมาคม
               ประชาคม ศูนย์คณะกรรมการสมัชชา เพื่อดําเนินกิจกรรมคุ้มครองเรียกร้องสิทธิให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่าง

               หลากหลาย เช่น เด็ก สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้พิการ แรงงานต่างด้าว หรือต่อต้านการละเมิดสิทธิด้านต่างๆ มีการ

               สร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง มีผลงานวิชาการ การศึกษา วิจัย ที่เผยแพร่
               ทั้งโดยผ่านสื่อต่างๆ ขณะเดียวกัน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนได้ถดถอยในหลายด้าน และสถานการณ์มีความ

               ซับซ้อนแยบยลยิ่งขึ้นในด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นผลกระทบมาจากการพัฒนาประเทศตามแนวทางของ

               ระบบทุนนิยมโลกนําไปสู่การเปิดการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การผลักดันให้มีการลงทุนของต่างชาติ นําไปสู่
               ปัญหาเรื่องสิทธิชุมชนเพื่อประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคุณภาพชีวิตของ

               ประชาชน ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมือง เป็นต้น


                       จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กสม. ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญและความจําเป็นที่จะต้องทบทวนและ
               ปรับแผนยุทธศาสตร์ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพการดําเนินงานในปัจจุบันยิ่งขึ้น

               ที่ผ่านมา กสม. ได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์การดําเนินงานของ กสม. แล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับปี พ.ศ. 2545 - 2550

               และฉบับปี พ.ศ. 2554 - 2559 แต่จากผลการศึกษาของสถาบันวิชาการต่างๆ พบว่าความพึงพอใจของ









               1
                  พุฒิพงศ์ มานิสสรณ์. (2551). “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ: องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญผู้พิทักษ์สิทธิ
                   มนุษยชน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.l3nr.org/posts/159586



                                                           4-3
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155