Page 149 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 149

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               รัฐธรรมนูญที่สร้างบนปัญหาของการเมืองไทย มีการรับฟังความคิดเห็น ปรับปรุง จนเป็นที่ยอมรับและเคารพ

               จากทุกฝ่าย ในเชิงรูปธรรมและได้จัดตั้งองค์กรอิสระ เช่น กสม. เป็นต้น


                       การจัดตั้งดังกล่าวได้จัดตั้งองค์กรของรัฐให้มีความเป็นอิสระ (independent  regulatory  agency)
               เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารที่มีประสิทธิภาพกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่ง

               โครงสร้างระบบบริหารรูปแบบเดิมมีข้อจํากัด เนื่องจากมีการจัดลําดับของอํานาจหน้าที่และการควบคุมบังคับ

               บัญชาตามลําดับชั้น ทําให้เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจกระทบต่อ
               ผลประโยชน์ส่วนรวมและสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงได้มีองค์กรอิสระถือกําเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้

               รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองหรือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพื่อทําหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการทําหน้าที่

               ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการในด้านต่างๆ รวมทั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย
               โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 75 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการ

               บริหารงานโดยอิสระขององค์กรอิสระ คือ กสม. ทั้งนี้ เนื่องจากระบบเดิม องค์กรผู้ใช้อํานาจรัฐกับองค์กรผู้

               ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอยู่ในองค์กรเดียวกัน คือ องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่าย
               ตุลาการ ต่างก็เป็นองค์กรผู้ใช้อํานาจและในขณะเดียวกันองค์กรนั้นเองก็มีหน้าที่ในการตรวจสอบกันเองด้วย

               ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่จึงได้จัดตั้งหรือแยกกลไกการตรวจสอบการใช้อํานาจออกจากกลไกการใช้
               อํานาจเพิ่มเติมผ่านองค์กรพิเศษซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรเฉพาะ นั่นก็คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น

               กสม. โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเสริมช่องว่างในโครงสร้างการบริหารประเทศ เนื่องจากปัญหาการปฏิบัติภารกิจ

               หน้าที่ขององค์กรตรวจสอบการใช้อํานาจที่ผ่านมาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถูก
               ครอบงําจากฝ่ายการเมืองนั่นเอง


                       กสม. มีขึ้นเพื่ออุดช่องว่างจากการใช้กลไกทางศาลซึ่งอาจมีข้อจํากัดบางประการในการคุ้มครองสิทธิ

               เสรีภาพของประชาชนและสร้างความผาสุขในสังคม เนื่องจากจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการพิจารณา
               พิพากษาคดีของศาล รวมไปถึงการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องและการดําเนินคดีในศาลด้วย

               โดย กสม. จะต้องทําหน้าที่เสมือนเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ (Quasi-Judicial  Organs) ในการตรวจสอบและ

               คุ้มครองการกระทําละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อเยียวยาปัญหาของประชาชนจากการใช้อํานาจรัฐหรือการกระทํา
               ของบุคคลและการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งการจะดําเนินการได้นั้น กสม. จะต้องประกันความเป็นอิสระ

               และความเป็นกลาง โดยไม่ฝักฝ่ายในทางการเมือง ปราศจากอคติ ไม่ลําเอียง ดํารงความยุติธรรม มีความเที่ยง

               ธรรม มีความชอบธรรมด้วยเหตุผล กสม. จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
               และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีการกําหนดที่มา สถานะ บทบาท

               หน้าที่ และแนวทางดําเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับแนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะและ

               บทบาทที่พึงมีของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามหลักการว่าด้วยสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกกันว่าหลักการปารีส (Paris Principle) รวมทั้ง

               ได้มีกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดตั้ง กสม. อย่างกว้างขวาง  ทั้งนี้ ผลจากการทํา




                                                           4-2
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154