Page 148 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 148
บทที่ 4 การวิเคราะห์ช่องว่างในการดําเนินการขององค์กร
(Gap Analysis)
เกริ่นนํา
ในบทนี้จะเป็นการวิเคราะห์ช่องว่างในการดําเนินการขององค์กรโดยอาศัยผลการวิเคราะห์บทบาท
ของ กสม. ที่เป็นอยู่ (บทที่ 2) บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ควรจะเป็น (บทที่ 3) ร่วมกับ
การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันและอนาคต กรณีศึกษาผลกระทบในประเทศ
จากปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสรุปผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย ให้ความรู้และรับฟังความ
คิดเห็น ผลการวิเคราะห์ในส่วนนี้จะถูกนํามาใช้ในการจัดทําแผนกลยุทธ์ฯ ในบทต่อไป
4.1 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันและอนาคต
สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกเริ่มหันมาตื่นตัวและให้ความสําคัญ
มากขึ้น โดยเฉพาะการตระหนักรู้ของภาคธุรกิจเพื่อที่จะเสริมสร้างบทบาทของตนเองให้เข้มแข็งทั้งด้านการ
ประกอบธุรกิจควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ในบริบทของประเทศไทยนั้น ประเด็นสิทธิมนุษยชน
และการประกอบธุรกิจยังไม่ได้มีการจัดทําแผนระดับชาติเหมือนเช่นประเทศอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3
อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวได้มีการรับรองและสอดแทรกอยู่ในแผนพัฒนาของประเทศในหลายๆ ฉบับ ซึ่งมี
ความสอดคล้องกับหลักการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ โดย
แผนพัฒนาประเทศที่สําคัญๆ และสามารถนํามาสอดประสานร่วมกันกับการเคารพสิทธิมนุษยชน สามารถ
จําแนกออกได้ ดังนี้
4.1.1 แผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2565
วิกฤติทางการเมืองตั้งแต่ในอดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บ้างก็นํามาซึ่งการสูญเสียชีวิตของประชาชน
ชาวไทยจํานวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขสําคัญที่ทําให้เกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 ของ
ประเทศไทย และมีความพยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อทําหน้าที่ส่งเสริม
และให้ความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชน จนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ทุกฝ่ายมองว่าประเทศ
ไทยจําเป็นต้องหาทางออกจากวงจรทางการเมืองนี้ โดยการร่างกฎหมายสูงสุดให้ได้รับความเคารพและเชื่อถือ
จากทุกฝ่าย มีการฟังความเห็นถึง 3 ปี ก่อนจะทําสําเร็จ สิ่งที่แตกต่างออกไปของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เป็น
4-1