Page 140 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 140
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
โยกย้ายเงินลงทุนของกองทุนทั้งหมด ออกจากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 18
ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท Transfield
กลุ่ม NGO ในนามของ The No Business In Abuse group (NBIA) ได้เข้ามาเพื่อจัดการปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัท Transfield ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการว่าจ้าง (contractor) จากภาครัฐในการ
ดูแลจัดการศูนย์ดูแลผู้อพยพภายนอกประเทศของประเทศออสเตรเลีย โดย NBIA มีเป้าหมายในการ
ด าเนินการ 2 ข้อ คือ การจูงใจให้นักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนออกจากบริษัท Transfield และการรณรงค์ไม่ให้
ธุรกิจในท้องถิ่นท าการค้ากับธุรกิจของบริษัท Transfield
แนวทางการด าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีบริษัท Transfield ของ NBIA ประกอบไปด้วย
การสร้างกระแสมวลชน ผ่านการเปิดรับการสนับสนุนผ่านการลงชื่อในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (pledge) ซึ่งเป็น
รูปแบบใหม่ในการสร้างกระแสมวลชน ร่วมกับการจับมือกับองค์กรอื่นๆ ที่มีความเห็นสอดคล้องกัน ซึ่งผลของ
การด าเนินการดังกล่าว ได้ท าให้ NBIA เป็นตัวแทนของภาคประชาสังคมในการตรวจสอบความโปร่งใสในการ
ตอบค าถามของบริษัท Transfield และท าให้เกิดการสร้างการสนทนาแลกเปลี่ยนและตอบโต้ (dialogue) ขึ้น
โดยแม้ว่าการสนทนาแลกเปลี่ยนและตอบโต้ดังกล่าวจะไม่ใช่การสนทนาแบบทางตรง (ระหว่าง NBIA
กับบริษัท Transfield) แต่เป็นการสนทนาทางอ้อม โดยทางบริษัท Transfield ยอมออกมาตอบข้อสงสัยใน
การด าเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ในขณะที่ NBIA ได้ออกมาตั้งข้อสังเกต ข้อซักถาม หรือ
แม้แต่ยกหลักฐานสนับสนุนโต้แย้ง ท าให้สาธารณชนได้มุมมองจากทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิเลือกว่าจะกระท า
ตามเป้าหมายของ NBIA หรือไม่แต่ประการใด
ในท้ายที่สุด ทางธุรกิจได้ค านึงถึงความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น จนต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักการ
ในการด าเนินธุรกิจใหม่ โดยบริษัท Transfield ได้ตัดสินใจสร้างแบรนด์ธุรกิจใหม่ขึ้นชื่อว่า บริษัท
Broadspectrum และได้มีการปรับเปลี่ยนข้อความแถลงทางด้านธรรมาภิบาลในการด าเนินธุรกิจของบริษัทให้
มีธรรมาภิบาลในการด าเนินธุรกิจมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการยอมรับหลักการสากลในการด าเนินธุรกิจ รวมไปถึง
ความพยายามของภาคธุรกิจในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอีกด้วย
ในข้อความแถลงทางด้านธรรมาภิบาลในการด าเนินธุรกิจ ซึ่งปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 2015 มี
รายละเอียดที่ส าคัญ ดังนี้
1. การระบุถึงความส าคัญของบรรษัทภิบาลในการด าเนินธุรกิจ
2. การระบุถึงกลไกการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน
3. การก าหนดข้อความแถลงการณ์ในส่วนของสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน
4. การก าหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้ให้เบาะแส (whistle blower)
ส าหรับข้อความแถลงการณ์ในส่วนของสิทธิมนุษยชนนั้น มีองค์ประกอบที่ส าคัญ คือ
3-70