Page 138 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 138

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               และศักยภาพในบางภารกิจที่มีความเสี่ยงสูงในประเด็นดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่ต่ าอยู่ ดังนั้น เครื่องมือ

               ฝึกอบรมการต่อต้านการคอรัปชั่นในระดับบริหารถูกน ามาก าหนดให้เป็นแผนปฏิบัติการของแต่ละประเทศ
               นอกจากนี้ ผู้อ านวยการฝ่ายกฎหมายในแต่ละประเทศได้พัฒนาการฝึกอบรมการต่อต้านการคอรัปชั่นเป็น

               รายบุคคลตั้งแต่ปีค.ศ. 2014



                         ผลกระทบชุมชน : กลไกระงับข้อพิพาท

                       โรงงานของบริษัท Nestlé ได้เข้าพบกับทีมประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชนเป็นประจ า เนื่องจาก

               โรงงานตั้งอยู่บริเวณชุมชนและลูกจ้างของโรงงานเองก็เป็นสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะ
               เกิดขึ้นได้ เช่น มลพิษ เสียงหรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินพบว่ายังไม่มีกลไกระงับข้อ

               พิพาทในชุมชน ท าให้บริษัท Nestlé จัดตั้งกลไกขึ้นมาชื่อว่า “กลไก Tell us” ซึ่งก าลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

               กลไก นอกจากนี้ แนวทางชี้แนะในการมีส่วนร่วมของชุมชนก็ก าลังจัดท าขึ้นเช่นเดียวกันเพื่อให้การประกอบ
               กิจการของบริษัท Nestlé เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ



                         การจัดซื้อจัดจ้าง

                       การประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชนช่วยให้บริษัท Nestlé พบว่ามีซัพพลายเออร์ของบริษัทหลายราย

               ที่ไม่ได้ค านึงถึงการตรวจสอบการจัดหาอย่างรับผิดชอบ แม้ว่าจะได้มีการน าเสนอความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติ
               ตามในพื้นที่ เช่น สภาพการท างาน สุขภาพและความปลอดภัย  ส่งผลให้การตรวจสอบการจัดหาอย่าง

               รับผิดชอบซึ่งได้ด าเนินการโดย Bureau Veritas, Intertek และ SGS เพื่อให้ครอบคลุมกับซัพพลายเออร์ที่มี

               ความเสี่ยงสูงจากการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ทีมจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรได้ด าเนินการ
               ปรับปรุงประมวลซัพพลายเออร์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้น าเอาหลักการสิทธิมนุษยชนมาใส่ไว้ด้วยและเผยแพร่ให้

               น ามาใช้เมื่อสิ้นปีค.ศ. 2013


                         การจัดหาวัตถุดิบ


                       เป็นที่ชัดเจนจากการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชนว่าภาพรวมของบริษัท Nestlé  สร้างความ
               เป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรผ่านการฝึกอบรมว่าหลักปฏิบัติที่ดีทางเกษตรกรรมและวัตถุดิบ และช่วยให้เข้าถึง

               ตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระดับของการผลิตทางการเกษตรพบว่ายังคงขาดการตรวจสอบ

               อย่างเป็นระบบของมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและแรงงาน และในการจะตอบสนองปัญหาดังกล่าว บริษัท
               Nestlé จึงได้พัฒนาแนวทางชี้แนะการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบส าหรับสินค้าโภคภัณฑ์ทีมีความ

               เสี่ยงสูงขึ้นซึ่งได้ก าหนดให้มีประเด็นทางสิทธิมนุษยชนและแรงงานเอาไว้










                                                           3-68
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143