Page 141 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 141

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       -   ความครอบคลุมของแถลงการณ์ ซึ่งทางบริษัทได้ขยายความครอบคลุมไปไม่เพียงแต่การ

                          ด าเนินการของธุรกิจ แต่รวมไปถึงผู้รับการว่าจ้าง (subcontractor) ผู้ผลิตวัตถุดิบ (supplier)
                          และธุรกิจย่อยที่ธุรกิจมีการถือหุ้นอยู่ด้วย


                       -   มาตรฐานที่ธุรกิจยอมรับ ซึ่งทางบริษัทได้ยอมรับมาตรฐานในระดับสากล ประกอบไปด้วย
                          ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ. 1948 ขององค์การสหประชาชาติ ตราสารสิทธิมนุษยชน

                          ข้อแนะน าหลักการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและธุรกิจขององค์การสหประชาชาติ และปฏิญญาว่า

                          ด้วยมาตรฐานสิทธิแรงงานขั้นมูลฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

                       -   ระบุความมุ่งมั่นของธุรกิจในการจัดการปัญหา


                       -   ระบุการด าเนินงานที่ส าคัญที่ช่วยในการจัดการปัญหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ สุขภาพ
                          และความปลอดภัย วัฒนธรรมในการท างาน สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาวัตถุดิบ

                          การใช้บริการผู้รับการว่าจ้าง ชุมชนท้องถิ่น และพันธมิตรทางธุรกิจ

                       กรณีศึกษาของ Transfield สะท้อนถึงกระแสการลงทุนในปัจจุบัน ที่ค านึงถึงประเด็นปัญหาทางด้าน

               สิทธิมนุษยชนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรณีศึกษาได้มีการยกประเด็นความโปร่งใสในการตอบค าถามขึ้นเป็น

               หัวใจส าคัญ ในกระบวนการสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหา หาก Transfield มีการด าเนินธุรกิจที่สามารถ
               ตรวจสอบได้ (Transparency)  และมีความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ย่อมสามารถตอบ

               ประเด็นกังวลใจให้กับนักลงทุนได้ และสามารถรักษานักลงทุนเอาไว้ได้

                       บทเรียนส าหรับกรณีศึกษาของ Transfield สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ NGOs ในการแก้ไขปัญหา

               ด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านการสร้างกระแสมวลชน และการสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งท าให้บริษัทที่ก่อ

               ปัญหาต้องยอมออกมาสร้างการสนทนาแลกเปลี่ยนและตอบโต้ (dialogue) ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าการสนทนา
               แลกเปลี่ยนและตอบโต้ดังกล่าว จะไม่ได้น าไปสู่การปรับเปลี่ยนการด าเนินธุรกิจโดยตรง แต่ก็เป็นการเปิด

               โอกาสให้เกิดการสนทนาทางอ้อม มีการตั้งข้อสังเกต ข้อซักถาม และยกหลักฐานสนับสนุนโต้แย้ง ท าให้

               สาธารณชนได้รับมุมมองจากทั้งสองด้าน และจะเป็นผู้เลือกว่าจะลงโทษในธุรกิจที่กระท าความผิดหรือไม่
               ข้อสังเกตประการหนึ่งของคณะผู้วิจัยก็คือ การด าเนินงานในลักษณะนี้ ต้องอาศัยการตื่นตัวของสาธารณชน

               เป็นส าคัญ ถึงจะสามารถผลักดันให้เกิดบทลงโทษที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้


                       ข้อความแถลงทางด้านธรรมาภิบาลในการด าเนินธุรกิจ ของบริษัท Broadspectrum แสดงตัวอย่าง
               ในอุดมคติของธุรกิจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่าง

               ยิ่ง การยึดหลักสิทธิมนุษยชนในระดับสากล ซึ่งมักจะมีความเข้มงวดมากกว่าหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย

               ในประเทศ ความครอบคลุมของแถลงการณ์ที่ขยายความไปถึง ผู้รับการว่าจ้าง ผู้ผลิตวัตถุดิบ และธุรกิจย่อยที่
               ธุรกิจมีการถือหุ้นอยู่ด้วย และการแยกข้อความแถลงการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนออกมาจากธรรมาภิบาลในการ

               ด าเนินธุรกิจทั่วไป ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งเน้นของธุรกิจในการจัดการปัญหาด้านธุรกิจกับ




                                                           3-71
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146