Page 143 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 143
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
7. ในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน หากจะให้ก าหนดล าดับความส าคัญของแผนการด าเนินการ จะ
สามารถแบ่งความส าคัญออกได้เป็น 4 ขั้น (โดยขั้นที่ 1 จะเป็นสิ่งที่ควรท ามากที่สุด) ดังนี้
ขั้นที่ 1 การให้ข้อมูล (inform)
ขั้นที่ 2 การสร้างความร่วมมือ (cooperate)
ขั้นที่ 3 การเปิดเผยข้อมูล (disclose)
ขั้นที่ 4 กลไกติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและการสร้างความรับผิดชอบ (audit, monitor,
and account for)
8. การจัดท าแผนชาติ ควรที่จะเริ่มจากการสร้างฉันทามติจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดความตระหนักรู้
โดยอาจจะเชื่อมโยงปัญหาการละเมิดสิทธิเข้ากับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ จากนั้นก็ควรที่จะระบุหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เพื่อจัดท าแผนร่วมกัน
9. ส าหรับธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ส านักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ยังไม่มีอ านาจในการผลักดันด้านธรรมาภิบาล การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้าน
สิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่เป็นการผลักดันโดยสมัครใจ และให้การสนับสนุนมากกว่า เช่น ผ่านการ
ประชาสัมพันธ์ การจัดงานและการแจกรางวัล
10. กสม. ควรที่จะเชื่อมโยงกับประชาชนผ่านการเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม
11. บทบาทในการแก้ไขปัญหา SLAPP กสม. อาจจะเข้ามาช่วยก าหนดข้อบังคับหรือภาระบาง
ประการให้ธุรกิจไม่กล้าที่จะใช้ SLAPP ได้ เช่น การเข้ามาช่วยด้านกฎหมาย การประกาศว่าธุรกิจก าลังใช้
SLAPP เพื่อปิดบังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลาดจนการเข้าไปร่วมเป็นพยานในคดี
12. ในด้านการปลูกฝังกับสาธารณชน กสม. ควรที่จะสนับสนุนการพัฒนาบทเรียนเพื่อสอดแทรก
ให้กับคนรุ่นใหม่ มีการท ากรณีศึกษาที่น่าสนใจ ที่แนะน าประเด็นปัญหา ไปจนถึงการยกตัวอย่างการท า HRDD
ที่ดี
3.6 สรุปบทเรียนจากการทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศที่มีส่วนส าคัญในการก าหนดแผน
กลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมของบทที่ 3 คณะผู้วิจัยสามารถสรุปบทเรียน แยกออกเป็น
ความท้าทาย ปัจจัยเอื้อ อุปสรรค ตลอดจนสภาพแวดล้อมและรูปแบบการท างานเพื่อดูแลจัดการด้านธุรกิจ
และสิทธิมนุษยชนได้ดังนี้
3-73