Page 142 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 142

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               สิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ข้อความแถลงฯ ยังให้บทเรียนในรายละเอียดถึงโครงสร้างของข้อความ

               แถลงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่พึงมีอีกด้วย




               3.5   ข้อสรุปจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                       แห่งชาติ



                       คณะผู้วิจัยได้ท าการสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทบาทของ กสม.

               เพื่อสนับสนุนทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยนักวิชาการได้ให้ข้อเสนอแนะถึงบทบาทของ กสม. ที่ควรจะ
               เป็นดังนี้


                       1.   กสม. ควรที่จะมีบทบาทเชิงรุก ร่วมมือกับเอกชนในการป้องกันและดูแลจัดการปัญหา อย่างไรก็ดี
               การจะเข้าไปร่วมมือกับภาคเอกชนจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากภาคเอกชนยังมองว่าการเข้ามาร่วมมือจะ

               ท าให้ตนตกอยู่ในสถานะของการเป็นจ าเลย ดังนั้น สิ่งที่ กสม. จะต้องท าเป็นอันดับแรกคือการเปลี่ยนมุมมอง

               ของภาคเอกชนให้กลับมาสนับสนุนการป้องกันแก้ไขปัญหาก่อน และลบล้างความเชื่อแบบเดิมๆ

                       2.   ข้อเสนอแนะของ กสม. มักจะส่งให้กับภาครัฐเป็นหลัก แต่หาก กสม. จะมีบทบาทส าคัญกับ

               ภาคเอกชน ก็ควรที่จะมีข้อแนะน าให้ภาคเอกชนด าเนินการเพื่อป้องกันในกรณีที่ปัญหายังไม่เกิด และดูแล
               แก้ไขในกรณีที่มีปัญหาอีกด้วย


                       3.   กสม. ควรที่จะมีการอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสากลในการดูแลจัดการปัญหา โดย
               การอบรมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กสม. เอง ในประเด็นการบังคับใช้มาตรฐาน และกระบวนการพิสูจน์ การอบรม

               ให้กับภาคธุรกิจ และการอบรมให้กับตัวแทนองค์กรที่ดูแลสิทธิชุมชน

                       4.   กสม. ควรที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านการท า HRDD  โดยควรที่จะเริ่มจากการจัดประชุมระดม

               ความคิดเห็นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากนั้นควรที่จะจัดตั้งหน่วยวิจัยเชิงลึกท าหน้าที่ร่วมมือกับภาคเอกชนใน

               การสร้างกรณีศึกษาที่ลงลึกถึงกระบวนการที่ใช้

                       5.   การให้รางวัลเป็นดาบสองคม หากข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิของภาคธุรกิจยังไม่สมบูรณ์พร้อม

               อาจจะท าให้การให้รางวัลธุรกิจจะกลายเป็นการการันตีว่าธุรกิจไม่มีปัญหา การจะให้รางวัลก็ควรที่จะเป็น
               รางวัลการเปิดเผยข้อมูลดีเด่น หรือรางวัลส าหรับธุรกิจที่ได้รับการร้องเรียนและให้ความร่วมมือในการแก้ไข

               ปัญหาดีเด่น เป็นต้น

                       6.   กสม. สามารถปรับปรุงกลไกการติดตามและตรวจสอบได้ โดยอาศัยการสร้างภาคีกับกลุ่ม NGOs

               อย่างไรก็ดีการติดตามจะต้องระวังเพราะอาจจะกลายเป็นภาพลบในสายตาเอกชนได้ ท าอย่างไรถึงจะถ่วงดุล

               การพิจารณาจากทั้งสองด้าน





                                                           3-72
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147