Page 136 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 136
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
วัตถุประสงค์ของบริษัท Nestlé คือการเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นผู้น าในการเคารพสิทธิมนุษยชนและ
แนวปฏิบัติคุ้มครองแรงงาน และในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น บริษัทจ าเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ภายในประเทศและเคารพมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองซึ่งได้ก าหนดเอาไว้ใน
หลักการ UNGP ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Bill of Human Rights) อนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งมั่นที่
จะด าเนินการตามกรอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ แนวปฏิบัติส าหรับบรรษัทข้าม
ชาติ OECD และปฎิญญา ILO ว่าด้วยบรรษัทข้ามชาติ
แนวคิดเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งส าหรับบริษัท Nestlé ที่
จะด าเนินการ เพราะต้องอาศัยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การจัดการความส าคัญของประเด็นต่างๆ ทิศทางเชิง
ยุทธศาสตร์ การจัดสรรทรัพยากรเพื่อด าเนินการ ตลอดจนการประสานความร่วมมือระดับสูงทั่วทั้งบริษัท
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทและสมดังความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัท Nestlé จึงได้
พัฒนาและด าเนินโครงการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวครอบคลุมผ่าน 8 เสา
หลัก ดังนี้
1. การบูรณาการสิทธิมนุษยชนลงในนโยบายใหม่และที่มีอยู่แล้ว
2. การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง
3. การอบมรมและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
4. การประเมินความเสี่ยงตลอดทั้งกิจการของบริษัท
5. ประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง
6. การประสานกิจกรรมสิทธิมนุษยชนผ่านคณะท างานสิทธิมนุษยชนของบริษัท
7. เป็นหุ้นส่วนกับองค์กรชั้นน าเพื่อด าเนินการกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
8. ตรวจสอบและรายงานผลการด าเนินการ
ในแต่ละปี บริษัท Nestlé จะรายงานผลการด าเนินการในแต่ละ 8 เสาหลัก โดยอาศัยมาตรฐานการ
เปิดเผยข้อมูลเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชน (Global Reporting Initiative : GRI) ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนลงไป
28
ในรายงานการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) ขึ้น
ภายใต้เสาหลักที่ 5 โครงการการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น บริษัท Nestlé ได้ด าเนินการ
จัดท าการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชน (Human Rights Impact Assessments : HRIAs) ในประเทศ
ทั้งหมดที่มีดัชนี FTSE4Good ในปีค.ศ. 2015 และจากการด าเนินการดังกล่าว ท าให้ได้ข้อค้นพบน าไปสู่
แผนปฏิบัติการของบริษัททั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร โดยแบ่งเป็นรายประเด็นได้ดังนี้
28
Nestlé Corporate Communications. (2016). “Nestlé's Human Rights Compliance.” [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://www.nestle.com/csv/human-rights-compliance
3-66