Page 134 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 134
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ส่วนที่ 2 แสดงผลการด าเนินงานขององค์กร ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปผลการด าเนินงานขององค์กร ซึ่ง
จะแสดงความเชื่อมโยงของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร วัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ของแต่ละเป้าหมาย
กิจกรรมการด าเนินการในช่วงแผนกลยุทธ์ เข้ากับกิจกรรมการด าเนินการที่ผ่านมา นอกจากนี้ การน าเสนอยัง
ได้ระบุถึงกลไกการตรวจสอบ ประเมินวัดผลของแต่ละกิจกรรม (activity) ที่ได้ถูกด าเนินการเพื่อตอบสนองต่อ
แต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
ส่วนที่ 3 แสดงรูปแบบกลไกหลักในการตรวจสอบการด าเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ซึ่งในกรณี
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียจะอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า เมตริกส์การบูรณาการ
(integration matrix) ซึ่งจะเป็นตารางที่ระบุถึง กิจกรรมที่ส าคัญในการตรวจสอบการด าเนินการ (action) ผล
ของกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ และผู้ที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการด าเนินการตรวจสอบ
ในส่วนนี้ ยังได้มีการให้ข้อมูลโครงสร้างขององค์กรและความเชื่อมโยง โดยคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งออสเตรเลีย ได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ คณะกรรมการด้านคนเชื้อสาย
ท้องถิ่นและความยุติธรรมทางสังคม คณะกรรมการด้านการเลือกปฏิบัติทางอายุ คณะกรรมการด้านสิทธิ
มนุษยชนเด็ก คณะกรรมการด้านการเลือกปฏิบัติต่อผู้เป็นทุพพลภาพ คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการด้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และคณะกรรมการด้านการเลือกปฏิบัติทางเพศสภาพ
บทเรียนส าคัญที่ได้จาก แผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย สามารถสรุปได้
ดังนี้
1. การจัดท าแผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความส าคัญในแง่มุมของการ
สื่อสารต่อสาธารณชนถึงบทบาทขององค์กรในการแก้ไขปัญหา
2. แผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออสเตรเลีย ได้แสดงตัวอย่างที่ดีในการ
จัดท าแผนองค์กรที่ควรจะเป็น โดยโครงสร้างการน าเสนอได้มีการก าหนดเป้าประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจน
ตลอดจนการระบุถึงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่ส าคัญ และมีการสรุปเป้าหมายการด าเนินงานแยกตามวัตถุประสงค์
โดยพิจารณาเชื่อมโยงจากผลการด าเนินงานในอดีต ไปสู่การด าเนินงานในปัจจุบัน รวมทั้งการน าเสนอกลไก
การตรวจสอบผลการด าเนินงาน เพื่อน าไปสู่การปรับปรุงและการพัฒนาองค์กรในช่วงแผนกลยุทธ์ถัดไป
3. ปัจจัยที่เป็นโอกาส ความท้าทายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สามารถน ามาปรับใช้
กับกรณีของประเทศไทยได้ เนื่องจากช่วงเวลาของแผนกลยุทธ์ฯ ของประเทศออสเตรเลียมีความสอดคล้องกับ
กรณีของประเทศไทย
3-64