Page 133 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 133
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
แผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย
แผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย ปี ค.ศ. 2016-2017 น าเสนอเป้าหมาย
กลยุทธ์ ประเด็นที่คณะกรรมการให้ความส าคัญ รวมทั้งการเชื่อมโยงระหว่าง เป้าประสงค์ของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป้าหมายขององค์กร สภาพแวดล้อมในการด าเนินงาน กิจกรรมหลัก และผลการ
ด าเนินงานประจ าปีอีกด้วย ซึ่งในแผนองค์กรจะประกอบไปด้วยโครงสร้างที่ส าคัญ 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 แสดงเป้าประสงค์ขององค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย จะระบุถึง
เป้าประสงค์ (purpose) ขององค์กรในการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การให้อ านาจที่
จ ากัดของกฎหมายหลายฉบับ เป้าประสงค์จะเป็นการระบุถึงรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร (เช่น กลไกการ
ตรวจสอบตามกฎหมาย และความมีอิสระ) รูปแบบการด าเนินการ (functions) เพื่อแก้ไขปัญหา กรอบ
วิสัยทัศน์ (vision) กรอบภารกิจ (mission) และกรอบหลักการ (principle) ในส่วนเป้าประสงค์ยังระบุถึง
ปัจจัยที่เป็นโอกาส ความท้าทาย และการบริหารจัดการความเสี่ยงส าหรับการท างานขององค์กรในช่วงของ
แผนองค์กรที่ก าลังจะด าเนินการ ตลอดจนการระบุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร วัตถุประสงค์ที่สอดคล้อง
กันของแต่ละเป้าหมาย และการจัดล าดับความส าคัญในการด าเนินการ (priorities)
ในแผนองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย ได้ก าหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 4
เป้าหมาย ได้แก่ ความเป็นผู้น า (leadership) การปกป้องสิทธิและเสรีภาพ (rights and freedoms) การ
บริการข้อมูลและกลไกการแก้ไขข้อพิพาท (access to effective information and dispute resolution
services) และความเป็นเลิศขององค์กร (organizational excellence) โดยก าหนดการด าเนินการที่ควรจะ
ให้ความส าคัญเป็นหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ การให้ความรู้และการสนับสนุนทางด้านสิทธิมนุษยชน การเข้าร่วมกับ
ภาคธุรกิจในการดูแลปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพจากความรุนแรง การข่มขู่และการรังแก
นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็นการจัดล าดับความส าคัญ (priority) ของแผนซึ่งถอดออกมาเป็นเป้าหมาย
เชิงกลยุทธ์ทั้ง 4 นั้น ได้ให้ความส าคัญอย่างมากกับการมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียจะกระตุ้นให้มีนวัตกรรมให้ภาคธุรกิจเคารพ คุ้มครองและ
ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการป้องกันการเลือกปฏิบัติในสถานประกอบการ
และเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือการระงับข้อพิพาทขึ้น และเพื่อให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าวคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งออสเตรเลียจึงต้องท างานร่วมกับภาคธุรกิจ กลุ่มนายจ้างเพื่อส่งเสริมการรับรู้สิทธิมนุษยชนใน
ประเทศ ทั้งนี้ รวมถึงการเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาลและภาคประชาสังคมในการพัฒนาแผน NAP ว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชนและการประกอบธุรกิจ และองค์กรธุรกิจอย่าง Australian Global Compact Network เพื่อ
จ าแนกแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กร ตลอดจน
การส่งเสริมความหลากหลายในที่ท างาน
3-63