Page 131 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 131
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติเป็นแนวทาง อย่างไรก็ตาม ท่าทีของรัฐบาลในตอนนั้นยังไม่
ตอบสนองต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว
ต่อมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอให้ภาครัฐด าเนินการสร้างแผนชาติ
(NAP) โดยเอาพื้นฐานมาจากหลักการธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี 2558 ได้มีการจัด
จ้างหน่วยงานภายนอกมาศึกษาวิจัยแผน NAP เพื่อที่จะร่างกรอบค าแนะน าที่เหมาะสม โดยมีหน่วยงานที่
รับผิดชอบในกระบวนการต่างๆ 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. หน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเตรียมความ
พร้อมในการร่างข้อเสนอแนะ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันวิชาการและภาครัฐ
2. หน่วยงานที่จัดตั้ง โดยกระทรวงยุติธรรม (รัฐบาล) จะเป็นหน่วยงานยืนยันกระบวนการสร้าง
แผนงานและประสานงานต่างๆ
3. หน่วยงานที่ท างานร่วมกัน โดยกระทรวงต่างๆ กลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญที่จะร่วมกัน
อภิปราย ก าหนดรายละเอียดในการสร้างแผนชาติ (NAP) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน
อ านาจหน้าที่และบทบาทตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขององค์กรหรือหน่วยงานด้าน
สิทธิมนุษยชนของรัฐในต่างประเทศ เฉพาะกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเอกชน
สาธารณรัฐเกาหลีไม่มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนโดยเฉพาะ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ก าหนดให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน การจัดท า
ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในประเด็นสิทธิมนุษยชน ทั้งทางกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไป
ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
คณะกรรมการฯ สามารถขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ หน่วยงานราชการท้องถิ่น และองค์กร
เอกชนต่างๆ เพื่อรับฟังและรวบรวมความคิดเห็น ก่อนที่จะส่งให้กับศาล นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ มีหน้าที่
จัดท ารายงานประจ าปีว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชน เพื่อน าเสนอต่อประธานาธิบดีและรัฐสภา
รายงานเรื่อง “การตอบสนองต่อการตรวจสอบตามแนวทางการปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติใน
ประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” (Response to the Survey of the United Nations Working Group
on Business and Human Rights) ได้ให้บทเรียนผ่านการน าเสนอบทบาทในการด าเนินการตามหลักการ
UNGP จากตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้ที่มีอยู่ 3 หลักส าคัญ และบทเรียนในการวางแผนขั้นตอนการสร้างแผน
ชาติ (NAP) เกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ อย่างชัดเจน
3-61