Page 17 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 17

  บริษัทควรเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ด้วยมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน (human rights lens)

                           เช่น นโยบายบริษัท แผนการด าเนินงาน แนวปฏิบัติ และรายงานต่างๆ ที่มีอยู่ โดยอาจจะใช้

                           มาตรฐานทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชนต่างๆ เป็นเครื่องมืออ้างอิง


                         ผสานเข้ากับการจัดการความเสี่ยงและโอกาสของบริษัทที่มีอยู่เดิม เช่น บูรณาการกระบวนการ

                           ประเมินด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับระบบลงทะเบียนความเสี่ยงของบริษัทซึ่ง ซึ่งระบุให้มีความเสี่ยง

                           ด้านสิทธิมนุษยชนลงไปในใบงานระบุความเสี่ยงของบริษัทด้วย

                         ท างานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีอยู่เดิมโดยขยายหัวข้อในการอภิปราย โดยการเพิ่มประเด็นด้านสิทธิ

                           มนุษยชนเข้าไว้ด้วย กระบวนการด าเนินการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจะช่วยให้สร้าง

                           ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียใหม่ ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่ท างานในประเด็นนี้เฉพาะทั้งระดับชาติและ

                           ระหว่างประเทศ เช่น องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) องค์การฮิวแมนไรท์

                           วอตช์ (Human Rights Watch)


                         การสร้างความตระหนักภายในองค์กรให้เข้มแข็งว่าแต่ละฝ่ายสามารถสร้างผลกระทบด้านสิทธิ
                           มนุษยชนได้อย่างไร ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับประเภทอุตสาหกรรม โอกาสและ


                           ความท้าทายในการบูรณาการแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับส่วนงานต่างๆ เช่น จัดสรรเวลา
                           ท างานร่วมกับแผนกต่างๆ ในส านักงานเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยท างานร่วมกับผู้รับผิดชอบหลัก


                           สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียภายในบริษัท จัดอบรมให้กับผู้จัดการระดับสูงของบริษัทเพื่อที่จะสามารถให้
                           ค าแนะน าในการลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสได้ (BSR, 2013)



                    2)  การพัฒนานโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเฉพาะ (Develop specific human rights policies where


                       appropriate) ข้อดีคือ เป็นโอกาสในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกถึงความต้องการของพวกเขา

                       ส่งผลให้บริษัทสามารถก าหนดทิศทางในการจัดท านโยบายสิทธิมนุษยชนได้ง่าย มีกรอบในการพิจารณา

                       ดังนี้

                         พิจารณาหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและบรรทัดฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ปฏิญญาสากลว่า

                           ด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อนุสัญญาด้านแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ

                           (ILO) หรือไม่

                         นโยบายจะระบุภาพรวมและสรุปกระบวนการที่บริษัทจะด าเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น

                           การก าหนดผู้รับผิดชอบ กระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย


                         ระบุความเสี่ยงทางสิทธิมนุษยชนที่บริษัทอาจมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบ โดยประเมินร่วมกับผู้มีส่วน

                           ได้เสียที่เกี่ยวข้อง

                                                                                                          17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22