Page 18 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 18
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่มักระบุสิทธิแรงงานประเภทต่างๆ เช่น แรงงานเด็ก สิทธิในการ
รวมกลุ่มต่อรอง ความปลอดภัย การไม่เลือกปฏิบัติ
ระบุความคาดหวังของบริษัทว่านโยบายนี้ใช้กับคู่ค้าและสายสัมพันธ์อื่นๆ ของบริษัทหรือไม่
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายโดดๆ หรือบูรณาการเข้ากับนโยบายของบริษัทอย่างน้อยที่สุดต้องประกอบด้วย การ
แสดงให้เห็นถึงพันธะทางนโยบายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยมีมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเป็น
จุดอ้างอิง มีข้อก าหนดด้านสิทธิแรงงาน มีข้อก าหนดด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ นอกเหนือจากสิทธิแรงงาน ซึ่งควรจะมี
การจัดล าดับความส าคัญและพิจารณาว่าการด าเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนประเภทใด
โดยเฉพาะ
ขั้นตอนในการพัฒนานโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
การพัฒนานโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต ซึ่งมักจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นจึง
ควรเริ่มต้นจากการไม่คาดหวัง บริษัทหลายแห่งปรับปรุงนโยบายของบริษัทขณะด าเนินการ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนที่
ซ้อนทับกันระหว่างการจัดท านโยบาย การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท และการบูรณาการ
นโยบายของบริษัทเข้ากับระบบการจัดการของบริษัท
ตัวอย่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนานโยบาย ได้แก่ ฝ่ายความยั่งยืน/ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่ง
สามารถขยายพันธะด้านความยั่งยืนของบริษัทด้วยการเพิ่มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ฝ่ายปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่ามี
การบูรณาการนโยบายไปใช้ในทางปฏิบัติ ฝ่ายกฎหมาย การตรวจสอบภายใน และฝ่ายก ากับเพื่อดูแลท าหน้าที่
ตรวจสอบทางกฎหมาย ผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้สนับสนุนและอนุมัตินโยบาย นักลงทุนสัมพันธ์ การปรึกษากับผู้มี
ส่วนได้เสียและการสื่อสารนโยบาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายสื่อสารซึ่งต้องท าให้การสื่อทั้งในและนอกบริษัทมี
ประสิทธิภาพ (Shift, Oxfam and Global Compact Network Netherlands, 2016)
ในเบื้องต้นสามารถด าเนินการได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) มอบหมายความรับผิดชอบให้กับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเร่งกระบวนการท างาน ท างานร่วมกับฝ่าย
ปฏิบัติการทั้งหมดของบริษัทในการพัฒนานโยบาย การน าไปใช้ และการทบทวนนโยบาย เนื่องจากการจัดท านโยบาย
มักเป็นการด าเนินการของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีหน้าที่ลงนามรับรองนโยบาย และจัดสรรทรัพยากรที่จ าเป็นต่อการน า
นโยบายไปใช้
2) พิจารณานโยบายบริษัทที่มีอยู่แล้วเพื่อวิเคราะห์ความครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชนและช่องว่างที่มีอยู่
หลายบริษัทได้รับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว เช่น ลงนามในหลักการข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN
Global Compact) แม้บริษัทที่ไม่ได้อ้างอิงถึงหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่บริษัทอาจจะมีแนวปฏิบัติด้าน
18