Page 20 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 20

จากฐานข้อมูลหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งเผยแพร่ในเดือนมีนาคม

            2559 พบว่า บริษัทที่จัดท ารายงานตามกรอบของหลักการชี้แนะฯ ร้อยละ 75 ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

            อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่อธิบายชัดเจนว่ามีการจัดระบบความรับผิดชอบอย่างไร ตัวอย่างเช่น มีข้อมูล

            เกี่ยวกับพนักงานที่รับผิดชอบการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน บทบาทหน้าที่ และระดับของการรับผิดที่สูงที่สุด ส่วน

            ใหญ่เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ตัวอย่างเช่น นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทเนสท์เล่ จ ากัด

            ได้ตั้ง Nestle in Society Board คณะกรรมการที่รับผิดชอบโดยตรง ประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่

            รับผิดชอบแตกต่างกัน ได้แก่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบริหารความเสี่ยง เป็นต้น คณะกรรมการนี้ท า

            หน้าที่ควบคุม จัดท ากลยุทธ์และจัดล าดับความส าคัญของประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น (Shift & Mazars, 2016)



            ตัวอย่างของเนื้อหานโยบายด้านสิทธิมนุษยชน


                  ให้ภาพรวมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้วยการเชื่อมโยงหลักสิทธิมนุษยชนกับนโยบายของบริษัท

                    "ดังที่ได้ระบุไว้ในแนวปฏิบัติของบริษัท การเคารพหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของหลักการ

                    ด าเนินธุรกิจของบริษัท"


                  การอ้างอิงถึงหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

                    "นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทโคคา-โคล่าจ ากัด (Coca Cola Company) อ้างอิงจากหลักปฏิญญา

                    สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลักปฏิบัติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ

                    และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ"

                  บริษัทแสดงให้เห็นว่าตนเคารพสิทธิแรงงานอย่างไร

                    "H&M เคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างทุกคนในกลุ่มบริษัท และจะปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ประเทศ

                    พันธะสัญญาของบริษัทระบุไว้ในนโยบายของบริษัทแล้ว เช่น นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียม

                    และนโยบายการคุกคาม เพื่อให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทได้จัดตั้ง

                    กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนซึ่งใช้กับทั้งองค์กร ลูกจ้างคนใดมีความกังวลต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

                    จากกิจกรรมของบริษัทสามารถแจ้งผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียนภายในได้"

                  ผู้รับผิดชอบในการบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติและปรับปรุงนโยบายคือใคร


                    "บริษัทยูนิลีเวอร์ในพื้นที่นี้รับผิดชอบโดย Unilever Chief Executive Officer ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
                    ผู้บริหารระดับสูงรวมถึงหัวหน้าฝ่ายห่วงโซ่อุปทาน หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการตลาดและการ


                    สื่อสาร ฝ่ายกฎหมายและฝ่ายความยั่งยืน รวมถึงรองประธานบริษัทฝ่ายผลกระทบทางสังคม เพื่อให้มั่นใจว่า
                    ทุกแผนกของบริษัทมีความรับผิดชอบที่ชัดเจนในการเคารพสิทธิมนุษยชน"


                  บริษัทจะด าเนินการอย่างไร หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                                                                                          20
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25