Page 16 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 16
มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการให้ความส าคัญและท างานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ที่ส าคัญคือ
กระบวนการนี้ส าคัญต่อการจัดระเบียบภายในบริษัทและการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด (Global Compact Network
Germany & twentyfifty, 2014)
วัตถุประสงค์ของนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน คือ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการ
ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของนโยบายบริษัทและแจ้งเตือนให้บริษัทรับรู้ถึงความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และยังอาจมี
ประโยชน์ต่อนโยบายบริษัทที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างเช่น นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่อาจจะมุ่งเน้นเฉพาะปัญหาทาง
เทคนิค โดยไม่ทันคิดถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิทธิของประชาชน มุมมองด้านสิทธิมนุษยชนช่วยท าให้นโยบายของ
บริษัทเข้มแข็งขึ้นเนื่องจากสอดคล้องกับหลักการสากล นอกจากนี้ยังสร้างความไว้ใจกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกและ
เริ่มท าความเข้าใจและจัดการกับปัญหาที่พวกเขากังวลด้วย (Global Compact Network Germany & twentyfifty,
2014)
การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนยังส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน เนื่องจากช่วยให้นักลงทุนเห็นถึง
ความแตกต่างของบริษัทที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ การประกาศนโยบายสิทธิ
มนุษยชนยังบ่งบอกว่าบริษัทค านึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการด าเนินธุรกิจ
สิ่งที่ควรค านึงถึงในขั้นตอนการพัฒนานโยบายคือ การให้ความส าคัญกับผู้มีส่วนได้เสียเพราะช่วยให้บริษัท
เห็นถึงช่องว่างของนโยบายกับการปฏิบัติจริง และลดการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเผยแพร่
นโยบาย ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องจัดให้มีการปรึกษาหารือกับผู้ที่มีส่วนส าคัญในการพัฒนานโยบาย และต้องแน่ใจว่า
นโยบายครอบคลุมผู้ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ และผู้เปราะบางซึ่งหมายถึงแรงงานข้ามชาติ ผู้หญิง เด็ก ด้วยการ
ปรึกษาหารือกับตัวแทนของพวกเขา นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีคณะกรรมการของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อตรวจสอบ
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพราะพวกเขาสามารถช่วยระบุตัวชี้วัดและมาตรการที่ส าคัญ
ได้ รวมถึงควรอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการติดตามตัวชี้วัดและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (UN Global Compact and
OHCHR, 2011)
แนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชน
แนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชนส าหรับธุรกิจอาจจ าแนกได้ 2 รูปแบบซึ่งแต่ละบริษัท
สามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองได้ ได้แก่ การเพิ่มเติมประเด็นสิทธิมนุษยชนเข้ากับนโยบายที่มีอยู่เดิม และ
การพัฒนานโยบายด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นมาเฉพาะ โดยแต่ละรูปแบบมีแนวทางในการด าเนินงานดังนี้
1) การเพิ่มประเด็นสิทธิมนุษยชนลงในนโยบายที่มีอยู่แล้ว (Include human rights in your existing
policies) ในการบูรณาการหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับระบบประเมินความเสี่ยงของบริษัท มี
กรอบในการพิจารณาดังนี้
16