Page 13 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 13

กัน การท าความเข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยควรจะด าเนินการอย่างไร มีลักษณะเหมือนหรือ

            แตกต่างกันอย่างไร

                  ประการต่อมา ในขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน มีค าถามว่าธุรกิจต้องสืบค้นข้อมูลมาก

            เพียงใดจึงจะเพียงพอต่อการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน หลายครั้งปรากฏว่า ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมักไม่มี

            โอกาสแสดงความคิดเห็นด้วยสาเหตุต่างๆ กัน (Global Compact Network Germany & twentyfifty, 2014) เช่น

            ถูกข่มขู่จากนายจ้าง กฎหมายในประเทศนั้นๆ ไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น จากการส ารวจความ

            คิดเห็นของบริษัทในงานวิจัยเรื่อง Exploring human rights due diligence ที่จัดท าโดย The British Institute of

            International and Comparative Law (BIICL) และบริษัทกฎหมาย Norton Rose Fulbright พบว่า เมื่อ

            ด าเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในห่วงโซ่อุปทาน บริษัทจ านวนมากประสบกับปัญหา “แค่ไหน

            จึงจะพอ (how far is far enough)” ข้อมูลจากบุคคลที่สามหรือประเทศที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอาจใช้ไม่ได้

            อีกทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องยากในการเปลี่ยนความสนใจของบริษัทจากความเสี่ยงต่อธุรกิจมาเป็นความเสี่ยงหรือ

            ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และการจัดการความรับผิดชอบที่เกิดจากบุคคลที่สาม (British Institute of


            International and Comparative Law, 2016)
                  ประการสุดท้าย มีข้อสังเกตต่อหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็น

            มาตรการเชิงสมัครใจมีประสิทธิภาพมาเพียงใด และเพียงพอต่อการปฏิบัติงานจริงหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาการ

            ปฏิบัติตามมาตรฐานเชิงสมัครใจ เช่น ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ หรือหลักปฏิบัติส าหรับบรรษัทข้ามชาติของ

            OECD ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากหลายรัฐบาลไม่สามารถจัดการกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้

            อย่างจริงจัง โดยเห็นว่ามีประเด็นส าคัญที่ควรค านึงถึงเพื่อให้การด าเนินการมีประสิทธิภาพ 3 ประการคือ ความ

            โปร่งใส (transparency) การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบภายนอก (external participation and review) และ


            การติดตามตรวจสอบและประเมินผลที่เป็นอิสระ (independent monitor and review) (Harrison, 2013)
                  ในด้านความโปร่งใส แม้จะมีการกล่าวถึงการสื่อสารภายนอกไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

            แต่ไม่ได้ระบุถึงความโปร่งใสที่ควรจะอยู่ตลอดทั้งกระบวนการ รวมทั้งไม่ได้ก าหนดมาตรฐานขั้นต่ าที่ควรเป็นของการ

            เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ ดังนั้น สิ่งที่ควรระบุเพิ่มเติมไว้ในกระบวนการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ

            ด้านคือ การเผยแพร่วิธีการประเมินและผลของกระบวนการประเมิน ไม่ว่าเป็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนใดก็ตามที่

            ค้นพบ ขณะที่ความโปร่งใสมีประโยชน์ต่อทั้งบริษัทและกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การ

            เปิดเผยวิธีการประเมินและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด าเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน


            อย่างรอบด้านได้รับฟังความเห็นจากผู้อื่นและสามารถน ามาปรับปรุงการท างานได้
                  ขณะเดียวกันยังท าให้ผู้เล่นอื่นๆ เช่น ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ตัวแทนจากสหประชาชาติ เจ้าหน้าที่รัฐ


            สามารถรับรู้ผลการด าเนินงานของบริษัทจากการเข้าถึงข้อมูล การประกาศเช่นนี้ท าให้บริษัทได้ประโยชน์เพราะที่ผ่าน
            มากระบวนการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่เดิมมีปัญหา เช่น บริษัทอาจจะอ้างว่าได้ด าเนินการประเมินผล

                                                                                                          13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18