Page 14 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 14
กระทบด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ไม่มีเอกสารที่เปิดเผยต่อสาธารณะว่ากระบวนการเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ยังไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจังหรือติดตามการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท
ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจจะประกาศว่าตัวเองได้ประกาศว่าได้ใช้กระบวนการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
รอบด้าน แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะว่าด าเนินการอย่างไร จากประสบการณ์ที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่าบริษัทมี
แนวโน้มที่จะหาข้อยกเว้นไม่เปิดเผยข้อมูลเท่าที่ท าได้ และต้องใช้กระบวนการยุติธรรม เช่น ศาลสั่งให้เปิดเผยข้อมูล
ดังนั้นความโปร่งใสจึงเป็นสาระส าคัญของกระบวนการประเมิน บริษัทที่อ้างว่าได้ประเมินผลกระทบแล้วต้อง
ด าเนินการเป็นประจ าและเผยแพร่ทั้งกระบวนการและผลของกระบวนการประเมิน บริษัทจึงจะสามารถประกาศได้ว่า
ตนเองปฏิบัติตามหลักการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หากปราศจากความโปร่งใสแล้ว
กระบวนการดังกล่าวก็ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรักกี้
นอกจากความโปร่งใสแล้ว มีข้อสังเกตว่าประเด็นที่รักกี้ไม่ได้ให้ความสนใจมากนักคือ การมีส่วนร่วมและการ
ตรวจสอบภายนอก (external participation and review) โดยต้องการวิธีที่เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าการ
ตรวจสอบตนเองเป็นแนวทางหลักของการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอาศัย
การมีส่วนร่วมกับผู้เล่นภายนอกด้วยเช่นกัน เนื่องจากดังที่ทราบกันดีว่าความตื่นตัวต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาค
ธุรกิจเริ่มต้นจากแรงกดดันภายนอก ดังนั้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นกลไกส าคัญ ในฐานะที่เป็นผู้
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวิธีการประเมินและข้อค้นพบ
ขณะเดียวกันเพื่อให้รายงานน่าเชื่อถือและกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมี
ประสิทธิภาพควรต้องมีผู้ประเมินอิสระภายนอกเพื่อตรวจสอบว่าบริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และ
มาตรฐานสมัครใจต่างๆ รวมทั้งด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ โดยทั่วไปมักจะว่าจ้างหน่วยงานภายนอกประเมินความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามควรระวังว่าผู้สอบเหล่านี้มักจะไม่ค่อยให้ความส าคัญกับสิทธิมนุษยชนมากพอ หรือไม่
เข้าใจประเด็นนี้ ตัวอย่างเช่น รายงานบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้สอบไม่ได้พูดคุยกับแรงงานในโรงงาน ไม่ได้สัมภาษณ์ระหว่าง
การท างาน หรือไปที่โรงงานขณะที่ไม่มีแรงงานเด็กอยู่ หรือแจ้งการไปเยือนโรงงานล่วงหน้า (Human Rights Watch,
2016)
14