Page 15 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 15
บทที่ 3 รายละเอียดกระบวนการ HRDD
กระบวนการ HRDD ประกอบด้วยหลักการส าคัญตามที่ระบุไว้ในหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ 4
องค์ประกอบดังนี้
1) การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน
2) การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท
3) การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมินรวมถึงกลไกควบคุมภายในและภายนอก
4) การติดตามและการรายงานผลการด าเนินงาน
ในบทนี้จะเป็นการอธิบายกระบวนการ HRDD ว่าหลักการแต่ละข้อมีลักษณะอย่างไร และมีแนวทางการ
ด าเนินงานอย่างไร โดยเป็นการสังเคราะห์จากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ละหลักการประกอบด้วย 3 ส่วนส าคัญ
ได้แก่ หลักการทั่วไป วิธีการด าเนินการ และตัวอย่าง
3.1 การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยบูรณาการเข้ากับระบบ
ประเมินความเสี่ยงของบริษัท
หลักการทั่วไป
การประกาศนโยบายและหลักการว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชนของบริษัทสะท้อนความรับผิดชอบของ
บริษัทต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และแสดงให้
พนักงานของบริษัทและผู้เกี่ยวข้องและสาธารณะเห็นว่าบริษัทให้ความส าคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชน บริษัทต้อง
เปิดเผยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับบุคคลและให้ความส าคัญต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนเมื่อมีการตัดสินใจทางธุรกิจ (Ethical
Trading Initiative, 2014)
นอกจากนี้การประกาศนโยบายเป็นการก าหนดทิศทางและเป้าหมายทั้งหมดของบริษัท ดังนั้นนโยบายควรจะ
ผลักดันให้เกิดการจัดกิจกรรมต่างๆ ในบริษัทและได้รับการสนับสนุนจากทั้งองค์กรเพื่อท าให้นโยบายเป็นไปได้จริง
ปัจจุบันมีบริษัทจ านวนมากเพิ่มประเด็นสิทธิมนุษยชนลงไปในนโยบายของบริษัทและถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง
ธรรมาภิบาลของบริษัท
เนื่องจากประเด็นสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย การบูรณาการเข้ากับระบบประเมินความเสี่ยงของ
บริษัทจึงไม่ง่ายนัก และยังขึ้นอยู่กับกระบวนการ due diligence ที่มีอยู่ของบริษัทและโครงสร้างขององค์กร อย่างไร
ก็ตามกระบวนการด าเนินการพัฒนานโยบายอาจจะเป็นช่องทางที่ท าให้เราได้รับข้อมูลที่ส าคัญได้ นอกจากนี้บริษัทยัง
ต้องตระหนักว่าการประเมินความเสี่ยงทางสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นกรอบแนวคิด การใช้
15