Page 21 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 21

"เมื่อบริษัทรู้ว่าตนเองเป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการเยียวยา

                    (Shift, Oxfam & Global Compact Network Netherlands, 2016)





            3.2 การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท

                    การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเป็นสาระส าคัญของการเคารพ

            สิทธิมนุษยชน บริษัทต้องเข้าใจการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการกระท าและปฏิสัมพันธ์ของ

            บริษัท (Ewing, 2011) การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างความ

            น่าเชื่อถือ การมีส่วนร่วม และมีข้อมูลที่เพียงพอกับการไม่สร้างภาระให้กับธุรกิจมากเกินไป วัตถุประสงค์ของ

            กระบวนการนี้คือ เพื่อให้บริษัทเริ่มด าเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้านจากภายในองค์กร

                    ในการปกป้องสิทธิมนุษยชน บริษัทต้องเข้าใจว่าการด าเนินงานของตนก่อให้เกิดหรือมีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิด


            ผลกระทบต่อกลุ่มใด ซึ่งผลกระทบนี้อาจไม่สามารถเห็นได้ชัดเจน ท าให้บริษัทจ าเป็นต้องท างานร่วมกับตัวแทนของ
            กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ (Global Compact Network Germany & econsense. 2014) การประเมินความเสี่ยงด้วย


            การปรึกษาหารือกับผู้ได้รับผลกระทบช่วยให้สามารถระบุปัญหา หามาตรการบรรเทา อีกทั้งยังเป็นการช่วยพิสูจน์ข้อ
            ค้นพบและจัดล าดับความส าคัญในการด าเนินการได้ ที่ส าคัญคือ บริษัทต้องแน่ใจว่าผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้สามารถ


            สื่อสารโดยตรงกับบริษัท โดยต้องจัดให้มีช่องทางการบรรเทาและเยียวยาชัดเจน
                    แม้ส าหรับบริษัทส่วนใหญ่แล้ว การเปลี่ยนจากพิจารณาความเสี่ยงของตนเองมาสู่การให้ความส าคัญกับความ


            เสี่ยงต่อผู้อื่นเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงนี้จ าเป็นต่อการด าเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ

            ชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

            หลักการเบื้องต้นของการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน


                    การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของบริษัท เนื่องจากบริษัท

            อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนมากนัก จึงสามารถน าการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

            (human rights impact assessment) ที่ศึกษาและเผยแพร่โดยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เช่น สถาบัน

            สิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก (Danish Institute for Human Rights: DIHR) ซึ่งเผยแพร่ทั้งหลักการและเครื่องมือส าหรับ

            การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ


                    การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบซึ่งมักประกอบด้วย การจัดท า

            ข้อมูลพื้นฐานการวิเคราะห์ทางการเมือง การพัฒนาความคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่ต้องการ การเลือกค าถาม การสร้าง

            ทางเลือกทางนโยบายและกิจกรรม การก าหนดว่าจะด าเนินนโยบายและกิจกรรมใดบ้าง การเฝ้าระวัง การประเมิน

            และการเยียวยา (Graetz & Franks, 2013)


                                                                                                          21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26