Page 19 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 19

สิทธิมนุษยชนอยู่แล้วในนโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัย แรงงาน ความรับผิดชอบต่อชุมชน เป็นต้น บางครั้ง

            การเริ่มต้นด้วยการพิจารณาจากประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น สิทธิในการเข้าถึงน้ าสะอาด แรงงาน

            บังคับ หรือการจับท าแผนผังประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญของบริษัทจะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นว่ากิจกรรมของ

            บริษัทเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

                    3) ระบุประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญของบริษัท วิธีหนึ่งคือ การจัดการกับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่

            เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งองค์กร เช่น บริษัทไอซีทีแห่งหนึ่งอาจจะให้ความส าคัญกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและ

            เสรีภาพในการแสดงออก ขณะที่โรงงานย้อมผ้าให้ความสนใจกับผลกระทบเกี่ยวกับการจ้างงานเป็นพิเศษ รวมทั้ง

            ผลกระทบต่อสิทธิชุมชนจากการสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยน้ าเสีย และการใช้น้ า

                    4) ท างานร่วมกับบุคลากรฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล กฎหมาย จัดซื้อ ความปลอดภัย ใน

            กระบวนการสร้างความเข้าใจ ความรู้และทักษะ และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน การท างานภายในบริษัทเป็นโอกาสของ

            การแปลภาษาที่เป็นนามธรรมของแนวคิดสิทธิมนุษยชนไปสู่ภาษาของธุรกิจ เพื่อท าให้บุคลากรภายในบริษัทเข้าใจว่า

            เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการด าเนินธุรกิจของบริษัท

                    5) ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อระบุความคาดหวังและผลตอบรับจากพวกเขา (UN

            Global Compact and OHCHR, 2011) การท างานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกจะช่วยให้รู้ว่าใครคือผู้ได้รับ

            ผลกระทบจากการด าเนินธุรกิจของบริษัท และกิจกรรมใดส่งผลต่อพวกเขา ขณะเดียวกันก็ท าให้บริษัทรู้ว่าประเด็น

            สิทธิมนุษยชนที่ส าคัญของตนเองคืออะไร

                    6) นโยบายควรใช้ภาษาที่เฉพาะเจาะจงในประเด็นหลักที่ต้องการสื่อสาร และอธิบายชัดเจนว่าบริษัทจะ

            ด าเนินการอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร

                    7) การอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง

                    8) การสื่อสารนโยบาย ควรสื่อสารนโยบายไปยังพนักงานที่เกี่ยวข้องและคู่ค้าภายนอก รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย

            บริษัทควรจะพิจารณาว่าการเผยแพร่ด้วยวิธีการใดจะเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุด

                    นอกจากนี้ยังมีบางประเด็นที่ควรพิจารณาได้แก่ การปรับปรุงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น เช่น

            บริษัทข้ามชาติต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกับมาตรฐานของบริษัทและกฎหมายของแต่ละประเทศ ต้องแปลนโยบายให้

            เป็นภาษาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามไม่ควรจะขัดต่อนโยบายทั่วไปของบริษัท ตัวอย่างเช่น ในบางวัฒนธรรมการให้สินบน

            เป็นเรื่องปกติ แต่ผิดหลักการระหว่างประเทศ

                    อีกประเด็นหนึ่งที่ส าคัญคือ การตรวจสอบว่ามีการน านโยบายไปใช้จริงและการติดตามผล ควรมอบหมาย

            ให้กับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามว่านโยบายได้รับการน าไปใช้หรือไม่ ทรัพยากรต่างๆ ของบริษัทเพียงพอ

            ต่อการบูรณาการนโยบาย มีการติดตามผลและมีการทบทวนนโยบายเป็นประจ า แม้กระทั่งนโยบายที่ชัดเจนที่สุดก็


            ต้องมีการตีความ เจ้าของนโยบายควรเน้นจุดส าคัญในการด าเนินการกับประเด็นสิทธิมนุษยชน และควรมีช่องทาง
            เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญทั้งระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ

                                                                                                          19
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24