Page 10 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 10

บริษัทจึงจัดอบรมให้ความรู้แก่บริษัทคู่ค้าเพื่อแก้ไขปัญหานี้ (Guest, 2013) นอกจากนี้ยังส่งผลให้บริษัทโคคาโคล่า

            เริ่มต้นประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานน้ าตาลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิที่ดิน แรงงานเด็กและแรงงาน

            บังคับใน 28 ประเทศ หลังจากเห็นว่าการด าเนินงานของบริษัทได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน สิทธิเด็ก และสิทธิที่ดิน

            ในห่วงโซ่อุปทานอย่างไร (The Coca-Cola Company, 2015)



            ผลจากการจัดท า HRDD ต่อธุรกิจ

                  การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านส่งผลให้บริษัทสามารถรับรู้ถึงกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น

            จากการด าเนินการของบริษัทและน าไปสู่การแก้ปัญหา และสร้างวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนในองค์กรและคู่


            ค้าทางธุรกิจ
                  ในงานวิจัยของ BIICL เปิดเผยผลส ารวจว่าบริษัทที่ด าเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน พบ

            การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการด าเนินงานของบริษัท โดยปัญหาที่ค้นพบกว่าร้อยละ 74 ได้รับการแก้ไข

            และพบอีกว่าร้อยละ 74 เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ต่างจากผู้ที่ไม่ได้ด าเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ

            มนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีเพียงร้อยละ 19 สามารถระบุผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการด าเนินงานของ


            บริษัท และร้อยละ 29 ที่เห็นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม
                  กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ไม่เพียงเผยข้อมูลที่บริษัทอาจไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ยัง

            สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบริษัทและห่วงโซ่อุปทานของบริษัทได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดท ารายงานประเมินสิทธิ

            มนุษยชนของบริษัทยูนิลีเวอร์ จ ากัด ท าให้บริษัทรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการท างานของแรงงานในห่วงโซ่อุปทานของ

            บริษัทจนน าไปสู่การแก้ปัญหา เช่น ลดชั่วโมงการท างานของพนักงานในประเทศไทยหลังจากพบว่าหนึ่งในผู้จัดหา

            วัตถุดิบของบริษัทท างานติดต่อกันโดยไม่มีวันหยุด บริษัทจึงสั่งให้บริษัทคู่ค้าจัดท าแผนเยียวยา ซึ่งใช้เวลาแก้ไขสาม

            เดือนบริษัทจึงจะแน่ใจว่าพนักงานมีวันหยุดทุก 7 วัน (Unilever, 2015) หรือการศึกษาแรงงานในประเทศเวียดนาม

            ซึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทานของบริษัท พ.ศ. 2554 พบว่าแม้ว่าก่อนหน้านี้บริษัทยูนิลีเวอร์จะมีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน แต่

            ยูนิลีเวอร์ก็ไม่ได้ตระหนักว่าการด าเนินการของบริษัทคู่ค้าในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร เมื่อมีการจัดท ากระบวนการ

            HRDD ซึ่งท าให้ยูนิลีเวอร์เห็นช่องว่างระหว่างนโยบายกับการปฏิบัติ หลังจากนั้นผู้จัดหาวัตถุดิบตระหนักถึงความ

            คาดหวังด้านมาตรฐานแรงงานของยูนิลีเวอร์มากขึ้น และได้รับการฝึกอบรมและแนวปฏิบัติตามนโยบายใหม่ของ

            บริษัท ในปี 2558 ร้อยละ 70 ของบริษัทคู่ค้าเหล่านี้กังวลว่ายูนิลีเวอร์จะไม่รับซื้อสินค้าของตนเองหากไม่จัดการ

            ปัญหาแรงงาน ปัญหาด้านชั่วโมงการท างานที่มากเกินไปและการใช้แรงงานสัญญาจ้างได้รับการแก้ไข เพราะพวกเขา

            เริ่มตระหนักถึงความคาดหวังด้านมาตรฐานแรงงานของยูนิลีเวอร์มากขึ้น และได้รับการฝึกอบรมและแนวปฏิบัติตาม


            นโยบายใหม่ของบริษัท (Wilshaw, Do, Fowler, & Pham, 2016)

                  การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านยังส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริหารให้
            ความส าคัญต่อประเด็นนี้อย่างจริงจัง เช่น ใช้เป็นหนึ่งในเหตุผลการตัดสินใจของบริษัท และน าไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติ

                                                                                                          10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15