Page 9 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 9
เทคโนโลยี อาหารและเครื่องดื่ม แร่ น้ ามันและก๊าซธรรมชาติ การเงิน พบว่ามี 76 บริษัทที่ระบุว่ามีกระบวนการ
ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Center for Human Rights in Practice, 2015) ส่วนพ.ศ. 2559 The
British Institute of International and Comparative Law (BIICL) และบริษัทกฎหมาย Norton Rose
Fulbright จัดท างานวิจัยเรื่อง Exploring human rights due diligence
พบว่าจากการท าแบบสอบถามผู้แทนจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลกจ านวน 152 แห่ง ทั้งบริษัทข้ามชาติ บริษัทระดับชาติทั้ง
ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 โดย 2 ใน 3 เป็นผู้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ
สัมภาษณ์ผู้จัดการอาวุโสอีก 14 บริษัทจากธุรกิจ 4 ประเภทได้แก่ ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบใน
การผลิต (รวมถึงพลังงานและเหมืองแร่) การเงิน ยา และเทคโนโลยี ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 ได้จัดท า
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (British Institute of International and Comparative
Law, 2016)
เหตุผลของธุรกิจในการจัดท า HRDD
เหตุผลที่ธุรกิจตัดสินด าเนินการ HRDD มักเกี่ยวข้องกับเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ การลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
ของบริษัท ความเสียหายทางธุรกิจจากการที่ไม่สามารถด าเนินการได้ตามแผนที่ก าหนดไว้ และการบังคับจากรัฐ
การลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของบริษัท จากการส ารวจพบว่า บริษัทที่เคยมีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนมักมี
แนวโน้มที่จะด าเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบในประเภทอุตสาหกรรม
และประเทศเดียวกัน
ธุรกิจส่วนหนึ่งยังเห็นว่าความเสี่ยงทางสิทธิมนุษยชนส่งผลต่อความเสียหายทางธุรกิจอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ในงานวิจัยของ Harvard Kennedy School’s Corporate Responsibility Initiative ซึ่ง
เก็บข้อมูลธุรกิจเหมืองแร่ น้ ามันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกพบว่า ต้นทุนจากการที่บริษัทขัดแย้งกับชุมชน
ท้องถิ่นคิดเป็นมูลค่า 27 ล้านเหรียญสหรัฐต่อสัปดาห์ ซึ่งบริษัทไม่สามารถด าเนินการตามที่วางแผนไว้ได้ ต้นทุนที่เพิ่ม
ขึ้นมานี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทละเลยในการจัดการความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง (Shift,
Oxfam and Global Compact Network Netherlands, 2016)
นอกจากความกังวลต่อความเสี่ยงทางชื่อเสียงแล้ว แรงผลักดันจากภาครัฐก็มีส่วนส าคัญต่อการจัดท าการ
ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนรอบด้านของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น กฎหมาย Burma Responsible Investment
Requirements ของสหรัฐอเมริกาที่ก าหนดให้ บริษัทสัญชาติอเมริกันทุกบริษัทที่ลงทุนในเมียนมาร์ 500,000 เหรียญ
ขึ้นไปต้องจัดท ารายงานด้านสิทธิมนุษยชนเสนอต่อกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา บริษัทโคคาโคล่า (The
Coca-Cola Company) จึงได้เริ่มต้นจัดท ารายงานด้านสิทธิมนุษยชน ผลจากการด าเนินการท าให้บริษัทได้รับข้อมูล
เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิหลายด้าน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศในการจ้างงาน ผู้หญิงได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย
9